ดูหนังออนไลน์ใหม่2024 หนังเต็มเรื่อง ดูหนัง 2023 HDฟรี
8xbet212

Jurassic World 2 Fallen Kingdom (2018) จูราสสิค เวิลด์ 2 อาณาจักรล่มสลาย

16 คะแนน

ตัวอย่าง

Jurassic World 2 Fallen Kingdom (2018) จูราสสิค เวิลด์ 2 อาณาจักรล่มสลาย

ดูหนัง Jurassic World 2 Fallen Kingdom (2018) จูราสสิค เวิลด์ 2 อาณาจักรล่มสลาย

เรื่องย่อ

เป็นภาพยนตร์ผจญภัยแนววิทยาศาสตร์ที่กำกับโดย J.A. บาโยน่า. เปิดตัวในปี 2018 เป็นภาคต่อของ “Jurassic World” (2015) ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นภาคที่ 5 ของซีรีส์ภาพยนตร์ “Jurassic Park”

Jurassic World 2 Fallen Kingdom (2018) จูราสสิค เวิลด์ 2 อาณาจักรล่มสลาย Claire Dearing นางเอกสาวส้นสูงของเราผู้เป็นคนก่อตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า “Dinosaur Protection Group” หรือแปลได้ว่า “กลุ่มผู้คุ้มครองพิทักษ์ไดโนเสาร์” ที่ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีการปรากฏตัวของตัวละครหน้าใหม่ที่รับบทโดย Daniella Pineda และ Justice Smith ภารกิจของพวกเขาต้องยากยิ่งขึ้นเมื่อพวกเขาต้องหาทางอพยพเหล่าไดโนเสาร์ออกจากเกาะ หลังจากการตื่นขึ้นของภูเขาไฟยักษ์ ที่จะคร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนเกาะและทำให้เกาะแห่งนี้ลุกเป็นไฟ เธอจึงจำต้องกลับไปขอความช่วยเหลือจากคนรักเก่าของเธออย่าง Owen Grady พระเอกสุดเท่ผู้คุยกับไดโนเสาร์รู้เรื่องให้กลับมาช่วยเธออีกครั้งหนึ่ง

โดยสรุป Jurassic World 2 Fallen Kingdom (2018) จูราสสิค เวิลด์ 2 อาณาจักรล่มสลาย สำรวจดินแดนใหม่ภายในจักรวาล “Jurassic Park” นำเสนอประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมและเพิ่มเดิมพันสำหรับอนาคตของมนุษย์และไดโนเสาร์ที่อยู่ร่วมกันในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลด้วยการทดลองทางพันธุกรรม ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในการวางรากฐานสำหรับบทต่อไปของเทพนิยายนี้ ทำให้แฟนๆ ต่างตั้งตารอวิวัฒนาการของโลกจูราสสิกอย่างใจจดใจจ่อ ดูหนัง ออนไลน์

ผู้กำกับ

เจ. เอ. บาโญนา

บริษัท ค่ายหนัง

  • Universal Pictures
  • Amblin Entertainment
  • The Kennedy/Marshall Company
  • Legendary Pictures

นักแสดง

  • คริส แพร็ตต์
  • ไบรซ์ ดัลลัส ฮาวเวิร์ด
  • บี. ดี. หว่อง
  • เจมส์ ครอมเวล
  • เท็ด เลวีน
  • จัสติน สมิท
  • เจรัลดีน แชปลิน
  • แดเนียลลา ไพเนดา
  • โทบี โจนส์
  • เรฟ สปอล
  • อิซาเบลลา เซอร์มอน
  • เจฟฟ์ โกลด์บลุม

โปสเตอร์หนัง

c9XxwwhPHdaImA2f1WEfEsbhaFB MV5BMDkzOTJjNGItZWU3Ni00ZjY5LWIyNWEtM2Q5ODRmMTkwNmUxXkEyXkFqcGdeQXVyNDg2MjUxNjM@. V1 MV5BMjEwMzQzMzY0MF5BMl5BanBnXkFtZTgwNjc3OTQ2NTM@. V1

รีวิวหนัง

Movie Gag V2

#ฮายาโตะ

รีวิวภาพยนตร์ Jurassic World 2 Fallen Kingdom (2018) จูราสสิค เวิลด์ 2 อาณาจักรล่มสลาย ฉบับฮายาโตะ

ไงล่ะ ชิบหายกันหมด เสือกไปปลุกไดโนเสาร์ให้ตื่นกัน เดือดร้อนกันทั้งบาง … กับ Jurassic World 2 : Fallen Kingdom ปี 2018

ผู้กำกับ : เจ. เอ. บาโยนา

ทุนสร้าง : 170 ล้านเหรียญ

กลับมาสมการรอคอย หลังจากภาคก่อนหน้านี้ ได้ทำรายได้ไปที่ 1,672 ล้านเหรียญ พ่วงด้วย ติดอันดับที่ 5 (ปัจจุบัน) กับภาพยนตร์รายได้สูงสุดตลอดกาล แต่ว่า ในภาคนี้ จะทำรายได้เข้า Top 10 หรือไม่ ก็ตามกันต่อไป

สำหรับการตั้งชื่อภาค Fallen Kingdom ทำให้เราคิดได้ 2 มุมใหญ่ๆ ว่าระหว่างอาณาจักรไดโนเสาร์ หรือ อาณาจักรมนุษย์ จะถึงคราวล่มสลายกันล่ะ ถือว่าความมันส์ ดร็อปลงจากภาคที่แล้วนิดนึง แต่ถือว่ารักษามาตรฐานได้ดี และยังมีความระทึกอยู่

คะแนน : 2 / 10 ทุกอย่างดีหมด ยกเว้นไอ้บ้าหม้อ สตาร์ลอร์ด ยังเคืองมันตั้งแต่ Avengers : Infinity War ไม่หาย จักรวาลชิบหายไปครึ่งหนึ่ง เพราะมันนี่แหละ

บ่นบ้าภาษาหนัง V.2

กลับมาคราวนี้มีเสียงไทยด้วยนะ

Jurassic World: Fallen Kingdom (2018) #IMDb 6.1/10 #Netflix

ส่วนตัวยังถือว่าเป็นภาคที่สนุกมาก ภาคหนึ่งเลยนะครับ โดยเฉพาะฉากใหญ่ก่อนที่ภูเขาไฟจะปะทุบนเกาะ แอคชั่นไหลลื่นอย่างเมามันส์ก่อนที่จะจบลงอย่างน่าเศร้าใจ ส่วนแอคชั่นช่วงท้ายที่อาจจะแผ่วลงไปบ้าง แต่ภาพรวมก็ถือว่าเป็นหนังบล็อคบัสเตอร์ ที่ทำออกมาได้ไม่น่าผิดหวังเท่าไหร่ ด้วยทุนสร้าง 170 ล้านเหรียญ สามารถโกยเงินทั่วโลกไปได้ถึง 1,310 ล้านเหรียญ จึงไม่แปลกที่ 4 ปีต่อมา จะมีภาคต่อออกมาปิดตำนานไตรภาคที่สองของหนังไดโนเสาร์ชุดนี้ ที่ถึงแม้จะได้รับเสียงวิจารณ์ออกไปทางผิดหวัง แต่หนังก็ยังทำเงินได้หลักพันล้านเช่นเดิม แอดเชื่อว่า เด๋วสตูดิโอก็จะเข็นแฟรนไชน์ชุดนี้ออกมาให้ดูกันอีก และในฐานะที่ดูมาตั้งแต่ไตรภาคแรก ก็คงต้องตามดูกันต่อไป

Movies Can Talk : หนังพูดได้

Jurassic World 2 Fallen Kingdom (2018) จูราสสิค เวิลด์ 2 อาณาจักรล่มสลาย (2018, J.A. Bayona)

(เผยเนื้อหาสำคัญเพื่ออรรถรส)

1). เท่าที่ดูผลงานของ เจ.เอ. บาโยน่า (J.A. Bayona) มาตลอดและอาจเป็นบุญตาตรงที่ว่าเมืองไทยก็ได้นำผลงานของเฮียมาเข้าฉายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้เห็นวิวัฒนาการการเล่าเรื่องที่เก่งของบาโยน่า รวมถึงประเด็นที่เฮียดูท่าว่าจะอิน ขนาดเป็นงานใบสั่งอย่าง Jurassic World เพราะเห็นได้ชัดว่างานนี้ไม่ใช่งานเฮียแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ (ใครอยากรู้ว่าเก่งยังไง ไปดูความละเอียดได้จากเรื่อง A Monster Calls ปี 2016) ลายเซ็นต์รวมถึงตัวตนบางอย่างยังคงทิ้งไว้ในหนังอยู่ดี แต่ที่แน่นอนกว่าคือ มันดีกว่า Jurassic World ( หรือ Jurassic Park ภาค 4) อย่างแน่นอน

2). การจัดวางบท สลับบทบาทเพื่อให้ธีมออก

หลังจากที่เราได้ชมตัวอย่างหลังๆ ของ Jurassic World: Fallen Kingdom มาแทบไม่ต้องคาดเดา ก็สามารถสันนิษฐานได้เลยว่า วายร้ายของเรื่องคือ มนุษย์ทุนนิยม แบบที่ภาค The Lost World: Jurassic Park (1997) หรือ Jurassic Park ภาคสองทำเอาไว้

หนังว่าด้วยเรื่องของ แคลร์ (รับบทโดย ไบรซ์ ดัลลาส ฮาเวิร์ด) สาวผู้ผันตัวไปเป็นนักอนุรักษ์ไดโนเสาร์แทน หลังเกิดเหตุร้ายในภาคที่แล้ว วันดีคืนดีที่เกาะก็ดันมีข่าวการระเบิดภูเขาไฟขึ้น ภาครัฐก็ดูไม่สนใจ มีแต่หุ้นส่วนของจอห์น แฮมมอนเท่านั้นที่ยังแลดู “สนใจช่วย” เพื่อให้มันกลับมามีชีวิตอีกครั้ง เธอเลยลากกิ๊กเก่าอย่าง โอเว่น (รับบทโดย คริส แพร็ต) ครูฝึกไดโนเสาร์ไปด้วย หวังว่าจะได้นำพาได้ไดโนเสาร์รวมถึง บลู แร็ปเตอร์ผู้รักและแสนผูกพันกลับบ้านอีกครั้ง แต่หารู้ไม่ว่านี่เป็นแผนการของนายทุนทำเพื่อหวังผลอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้

จากตัวอย่างเราจะเห็นได้ชัดถึงพล็อตแบบนี้ แต่จริงๆ แล้วบทหนังเรื่องนี้มีสองบทบาทที่ขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน คือ ฟากแคลร์ ที่มีการปฏิบัติภารกิจบนเกาะไดโนเสาร์ อีกฟากหนึ่งเป็นทางฝั่งของ ไมซี่ หลานสาวของ เบนจามิน ล็อควู๊ด (รับบทโดย เจมส์ ครอมเวลล์) ผู้เป็นหุ้นส่วนของแฮมมอน กับการท่องความลับของบ้านไม่ว่าจะเป็น ตาเบนจามินของเธอที่ซุกซ่อนความลับเกี่ยวกับเรื่องแม่ รวมไปถึงรูปแม่เธอไว้เพราะอะไรกัน หรือโปรเจกไดโนเสาร์ลึบลับที่ อีไล (รับบทโดย ราฟ สปาล) ผู้ดูแลบริษัทของเบนจามินกำลังวางแผนอยู่ จนตัวเธอ (และคนดู) กำลังจะได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้พร้อมๆ กัน

อย่างแรกเลยคือ เราชอบการจัดวางตัวละครและทำให้เข้าใจเลยว่าทำไมหนังมันถึงเหมาะที่จะเลือก บาโยน่า มากุมบังเหียน เนื่องจากบาโยน่า เป็นหนึ่งในผู้กำกับที่นอกจากจะกำกับเด็กเก่งแล้ว (ลองสังเกตดูได้ เพราะหนังแกทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะมีปมทุกเรื่อง แต่หนังจะขับคนดูมากกว่าหากเล่าไปที่เด็ก) และอีกอย่างคือ แกเล่าเรื่องด้วยการเล่น Transition ด้วยฉากได้เก่งฉกาจคนหนึ่งแบบสุดๆ (เรื่องนี้เล่าขนาบกันระหว่างเรื่องบนเกาะ ไปกับเคหาสห์ล็อควู๊ด แบบพร้อมกัน) บาโยน่าเลยเป็นผู้กำกับที่เหมาะกับการเล่าเรื่องทั้งสองอย่างนี้ และผลลัพธ์ที่ได้คือหนังไม่หลุดและยังอยู่มือ แม้ว่าตัวบทจะมีช่องโหว่แบบไหนก็ตาม

3). เทคนิคกำกับดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

หากเราวัดจากตัวบทจริงตั้งแต่ซีนเปิด โดยวางคนเข้าไปใน “พื้นที่ไดโนเสาร์” ทั้งสองทางทั้งบนบก (ช่างไฟฟ้าเปิดประตูเขื่อนน้ำ) และในน้ำ (ฝั่งเรือดำน้ำ) แทนมนุษย์เข้าไปเอาผลประโยชน์ (กระดูกใต้น้ำชำเพาะ DNA)

3.1 การใช้เงา ลึกลับ

บาโยน่าได้ทำให้ “ไดโนเสาร์กินเนื้อ” อยู่ในพื้นหลัง (Background) ภายใต้เงาดำมืด เล่นกับตัวละครมนุษย์-ผู้เป็นเหยื่อ-ไว้ด้านหน้า (Foreground) ก่อนจะทิ้งจังหวะให้ตัวไดโนเสาร์มันจู่โจมในเวลาถัดมา เทคนิคนี้ไม่ใช่เทคนิคใหม่ แต่มันเป็นลูกไม้ที่บาโยน่าเคยทำไว้ตั้งแต่ในหนังผีเรื่อง The Orphanage (หรือในชื่อไทยที่แสนคุ้นหูคือ สถานรับเลี้ยงผี) เมื่อปี 2007 แล้ว แต่มันกลับสามารถใช้ได้ดีกับไดโนเสาร์อย่างฉลาดสนองอารมณ์คนดู

3.2 พื้นที่อันตรายในบ้านคนรวย มนุษย์ผู้เป็นพระเจ้า การผลักออกจากการเป็นพระเจ้า

หากใครเป็นแฟนหนังบาโยน่า จะรู้ดีว่าเฮียเป็นผู้ถนัดกำกับเด็กมีปม ผู้ใหญ่มีปม มากอดกันหวานๆ ในยามท้าย ซึ่งนั้นเองเป็นทางที่เหมาะกับบาโยน่ามาก เมื่อมากำกับหนังเรื่องนี้

ใน Jurassic World: Fallen Kingdom ตัวละครเด็กถือเป็นจุดศูนย์รวมของเรื่อง เราชอบที่หนังเลือกให้ตัวละครเด็กมีจุดเชื่อมต่อกับผู้ใหญ่ (ผ่านตัวละครแคลร์และโอเว่น) เราเลยเห็นตั้งแต่ต้นเรื่องที่เห็นแคลร์รับโทรศัพท์จากเด็กแล้วถามเรื่องปัญหาไดโนเสาร์ ก่อนตบด้วยข่าวทีวีภาครัฐตัดสินใจปล่อยให้ไดโนเสาร์ตาย ก่อนจะพาสู่เนื้อหาที่ใหญ่กว่านั้น

หนังเล่าขนาบเรื่องผ่านสองพื้นที่ ได้แก่ เกาะจูราสสิก เวิร์ล และ เคหาสน์ถานของเบนจามิน (ผู้ก่อตั้ง) เราจะเห็นได้ว่าศูนย์กลางของเรื่องจะอยู่ที่เคหาสน์มากกว่า ทั้งในฐานะผู้มีอำนาจ และเป็นเจ้าของไอเดีย หนังจับโยนตัวละครผู้ใหญ่ทั้ง แคลร์,โอเว่น (รวมถึงเซียร์ หมอไดโนเสาร์ และวิศวกรเจ้าปัญหา แฟรงกิ้น) ไปที่เกาะ (ซึ่งมีตัวร้ายลูกกระจ๊อกเป็นทหารรับจ้าง) ส่วนตัวละครเด็กผ่าน ไมซี่ ถูกเล่าในฐานะเด็กที่ต้องถูกดูแลจากตัวร้าย อีไล แทน

เราจะเห็นได้ว่าส่วนตัวร้ายจุดสำคัญจะอยู่ที่บ้าน ไม่ใช่ที่เกาะไดโนเสาร์ และถูกใช้เป็นจุดสำคัญของเรื่องแทน หากมองอย่างผิวเผิน เส้นเรื่องของแคลร์กับโอเว่น ที่เหมือนเป็นเส้นเรื่องหลัก ส่วนไมซี่เป็นเส้นรอง แต่จากพื้นที่เล่าเรื่องจะเห็นได้ว่าพื้นที่ของเคหาสน์เป็นพื้นที่สำคัญ มันเลยทำให้ตัวละครไมซี่ มีความสำคัญตามไม่แพ้แคลร์และโอเว่น

เพราะเหตุนี้เอง บาโยน่าได้ใช้การเล่าเรื่องขนาบระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ไปพร้อมกัน เมื่อผู้ใหญ่ขบถ (กลุ่มแคลร์พบผู้ว่าจ้างคิดไม่ซื่) เด็กก็ขบถ (ไมซี่เจอความจริงบางอย่างจากตา) หรือ ผู้ใหญ่เข้าใกล้รัง (กลุ่มแคลร์เข้าใกล้เคหาสน์) เด็กก็พบห้องความลับ (ไมซี่ เจอห้องทดลองชั้นใต้ดิน) เป็นต้น

4). ไมซี่ และ ไดโนเสาร์ มนุษย์ผู้เป็นพระเจ้า และ การผลักออกจากการเป็นพระเจ้า

บาโยน่าเลือกโยนเด็กอยู่ใบบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง ก่อนจะอยู่ภายใต้การปกป้องจากผู้ใหญ่ที่ดี ซึ่งแน่นอนว่าเป็นประเด็นที่บาโยน่าเล่ามาตลอด ตั้งแต่ The Orphanage (แม่ตามหาลูกที่หายตัวไป), The Impossible (ครอบครัวหากันจนเจอหลังโดนสึนามิ), A Monster Calls (เด็กต่อสู้กับความเศร้าเพื่อดึงตนเองเข้าหาครอบครัว) และกับ Jurassic World: Fallen Kingdom เรื่องของ เด็กน้อยผู้รักไดโนเสาร์ พบความจริงที่ผู้ใหญ่ใจร้ายทำร้ายไดโนเสาร์ แต่โชคดีเจอผู้ใหญ่ที่รักไดโนเสาร์มาปกป้องเธอ

ในแง่มนุษย์เป็นพระเจ้านั้น ในเรื่องนี้สิ่งที่มนุษย์สร้างก็เพื่อทดแทนสิ่งที่มนุษย์ขาด หรือก็คือ Post-Human ก็ว่าได้เพื่อนำมาใช้งาน ส่วนมนุษย์นั้นก็เป็นพระเจ้ามาบงการและคุมอีกที คำถามคือ เมื่อมนุษย์ถูกล้มและอยู่ร่วมกับสิ่งที่สร้างอย่าง “ไดโนเสาร์” แล้วจะเป็นอย่างไร

ข้อน่าสังเกตคือ ในเรื่องมีการแทน ไมซี่ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในฐานะตัว “โคลน” เพื่อทดแทนความทรงจำที่หายไป ซึ่งไม่ต่างจากไดโนเสาร์ ในขณะเดียวกันทั้งสองต่างอยู่ในสถานะไม่ต่างจากสัตว์อยู่ในกรงนัก (ไดโนเสาร์ในสวน และ ไมซี่ในบ้าน) หรือการเรียกไปหา หนังก็กระทำไมซี่ไม่ต่างจากไดโนเสาร์มากนัก (หนังให้ตัวละครโอเว่นเรียกไดโนเสาร์ กับ ไมซี่ ใช้วิธีดูเชิงและค่อยๆ ปลอบไปเรื่อยๆ เพื่อให้เข้าหาง่าย)

คำถามคือ หากสิ่งที่ถูกสร้างมันคุมไม่อยู่ เราจะสามารถอยู่ร่วมกันโดยไม่ต้องมา “มนุษยนิยม” ได้หรือไม่? เนื่องจากที่ผ่านมา การใช้ “มนุษยนิยม” เป็นการยกตัวมนุษย์เองให้สูงขึ้น อย่างในเรื่องนี้ มนุษย์เองเป็นถึงพระเจ้า (คือสร้างทุกอย่างได้ด้วยการสังเคราะห์ในห้องทดลอง) และตนเองจะกลับมาเป็น “สัตว์” ได้เท่ากับไดโนเสาร์หรือไม่ เพราะมนุษย์กลัวว่าเราจะ “ต่ำ” กว่าสัตว์อื่น เราเลยกลัวการล้มมากๆ โดยเฉพาะ ไดโนเสาร์ หรือ มนุษย์ที่โคลนแล้ว

เราไม่แปลกใจหากคนจะไปนึกถึงหนังแฟรนไชส์จำพวก Planet of the Apes คือ มันสั่นเท่าความกลัวของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลอีกต่อไป

ด้วยเหตุนี้เอง หนังจึงให้ความสำคัญกับเคหาสน์เบนจามินเป็นจุดศูนย์กลาง เพราะมันได้แสดงความอหังการของมนุษย์ โดยเฉพาะ ห้องฟอสซิลไดโนเสาร์ที่อยู่ตรงกลางคฤหาสห์ที่ทุกอย่างต้องอยู่ในตู้ ตั้งสตาฟไว้ดูเล่น หรือ การสร้างห้องทดลองมาเพื่อขังเป็นสัตว์ในกรงเท่านั้น

ช่วงท้ายของหนัง มันเลยทดสอบความย้อนแย้งตัวละครนี้สุดๆด้วยการ “ปล่อย” ไดโนเสาร์ (รวมถึงไมซี่) ออกนอกกรง เราจึงได้เห็น คน (พระเจ้า) หนีไดโนเสาร์ โดยเฉพาะ ซ้อนตัวหนีตายไดโนเสาร์ด้วยการอยู่ในตู้โชว์ไดโนเสาร์ สิ่งนี้เองทำให้หนังมันย้อนแย้งจนตลกมากๆ เพราะทำให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ใช่พระเจ้า แต่เป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณเอาตัวรอดหนีหัวซุกเท่านั้น

ด้วยความเป็นบาโยน่า (อีกนั้นแหละ) ที่หลังจากเผยเส้นเรื่องไมซี่ว่า “มันสำคัญ” เพราะเป็นตัวละคร “ดี” และหลักเพียงตัวเดียวที่อยู่ในเคหาสน์ เราจึงติดตามเธอด้วยฐานะตัวหลัก จนเรามาพบว่าเธอเป็นมนุษย์โคลน นั้นก็เป็นสิ่งเซอร์ไพรคนดูที่เข้าใจว่าเธอเป็น “มนุษย์” จริงๆ

ฉากสำคัญของหนังในฐานะ “ฉากปล่อย” แคลร์กับโอเว่นตัดสินใจปล่อยให้ตาย เพราะมันจะทำลายมนุษย์ แต่สิ่งที่หนังเลือกคือให้ “มนุษย์โคลน” เป็นคนปล่อย มันได้แทนปากเสียงเธอในฐานะ “สิ่งที่มนุษย์สร้าง” ให้มีปากเสียงมากขึ้น หรืออีกตัวละครที่เป็นลักษณะเดียวกันคือ “บลู” ซึ่งปกติจะอยู่ภายใต้การคุมของโอเว่น มาในภาคนี้มันได้เข้ามาช่วยโอเว่นในฉากเสี่ยงตายหลายครั้ง เราก็เกิดคำถามว่ามันโดนสอนให้ช่วย หรืออยากช่วยเอง คำตอบง่ายๆ มาจากฉากสุดท้ายของบลู ที่ โอเว่นชวนบลูหาที่อยู่ใหม่ พอมันเห็นสิ่งที่เขามองเห็นเป็นกรง มันเลยปฏิเสธและจากไป การปฏิเสธนี่เองทำให้เห็นว่ามัน “คิดเองได้” การช่วยของมันก็อยู่ในสถานะสัตว์ทดลองคิดเองได้

อีกฉากหนึ่งที่สำคัญมากคือ ฉากสู้กันระหว่าง อินดอร์แร็ปเตอร์ หรือในภาษาอังกฤษคือ Indorraptor (ที่ชื่อมันคล้ายล้อกับคำ Indoor raptor เสียเหลือเกิน และ ปฏิบัติตามคำสั่งหากมีเลเซอร์กำกับ) กับบลู (เป็นทั้งแม่พันธุ์และหลุดจากกรงเรียบร้อย) อินดอร์แพ้ภัยเพราะเลเซอร์ที่มนุษย์สร้าง ผนวกกับ สัญชาตญาณของบลู เลยสามารถเอาชนะได้ และการให้มันตายด้วย “ห้องโชว์ไดโนเสาร์” ก็เหมือนเป็นการโชว์สิ่งที่อยู่ภายใต้มนุษย์สร้างและกลัว มันถูกกลืนโดย “สิ่งที่ถูกสร้าง” ทั้งหมด

5). เอาใจแฟน ความตั้งใจขาย

หากมานั่งเรียงฉากดีๆ จะพบได้ว่าหลายฉากเหมือนหยิบมุกเก่าจากภาคแรก (Jurassic Park) มาใช้เป็นลูกเล่นของซีนโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการปรากฎตัวของไดโนเสาร์คอยาว, ฉากไดโนเสาร์วิ่งหนีเลยหลบตรงขอนไม้,ฉากรีเซ็ตห้องไฟฟ้า เป็นต้น ต่างเน้นไปทางภาพจำ หรือ แบบใน The Lost World (ภาคต่อของ Jurassic Park) ที่พาไดโนเสาร์เข้าเมือง หรือ ฉากไดโนเสาร์บุกห้องนอน เป็นต้น

สิ่งที่เราค่อนข้างโอเคกับฉากในหนัง (ซึ่งแน่นอน มาจากการเลือกของบาโยน่า) ไม่ว่าจะเป็น การให้เห็นไดโนเสาร์คอยาวเดินผ่าน คนดูจะรู้สึกถึงภาคจำในภาคแรกได้ เพราะมันเป็นครั้งแรกที่ตัวละครหลัก (และคนดู) ได้เห็นไดโนเสาร์ตัวเป็นๆ แบบเต็มๆ มาในภาคนี้หนังเล่นฉากนี้ไม่พอ หนังเลือกให้ไดโนเสาร์คอยาวปรากฎอีกครั้งคือตรงท่าเรือและเห็นตายคาตา นอกจากเป็นการเล่นภาพจำไม่พอ ความผูกพันธ์มันก็จบลงไปด้วย คาดว่าซีนนี้น่าจะเป็นซีนภาพจำแก่หนังไปโดยปริยาย และมั่นใจได้ว่าฉากถัดจากนี้ไดโนเสาร์จะเด่นชัวร์ๆ

ฉากตั้งใจขายนี้คือ ฉากไดโนเสาร์ที่ต้องทำอะไรสักอย่างที่จะ ช่วยตัวละครเอก หรือแสดงความอหังการของมันจะเท่เป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น ทีเร็กซ์ และ บลู ต่างได้บทบาทมากกว่าไดโนเสาร์ตัวอื่น (ไม่นับอีหัวชนเสา เพราะมันไม่ได้ทิ้งไว้ให้ตัวละครคำรามดูเท่ไปหมด) ทว่าในบางครั้งการใส่ฉากแบบนี้มากไปเลยรู้สึกว่ามันไม่จำเป็นต้องโผล่มาในฉากสำคัญตลอดก็ได้

อีกส่วนหนึ่งไม่กล่าวคงไม่ได้คือ การเล่นกับการตัดสินใจในภาคนี้ มันเล่นกับตอนจบภาค The Lost World ในทางตรงข้าม หากเป็นภาค The Lost World คือส่งไดโนเสาร์กลับเกาะอยู่ที่เดิม แยกจากกันโดยถาวร แต่ในภาคนี้คือตรงกันข้ามคือ มันได้ออกมาอาศัยร่วมกับมนุษย์จริงๆ เลยเป็นการฉีกโครงสร้างภาคสองมากๆ ทำให้ลุ้นใจจดใจจ่อว่าภาคต่อไปจะเล่าประเด็นเนื้อหา “มนุษย์จะอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ โดยปราศจากความกลัวได้อย่างไร เมื่อมนุษย์ไม่สามารถเป็นพระเจ้าที่อยู่เหนือได้อีกต่อไป” เราว่าการฉีกนี้จะทำให้ Jurassic Park ไปไกลกว่าแค่ “อยู่ในสวน” เสียที

6). หลังจากที่เอ่ยมายาวๆ เราว่า Jurassic Park ภาค 5 นี้ ถึงแม้จะมีแผลด้านบทอย่างรุนแรง และคิดว่าบาโยน่าสามารถเล่นหนังได้มากกว่านี้ ด้วยสัญญะและการวางจังหวะตัวละคร (หนังเรื่องนี้คือหนังโจทย์เอาไงได้ ก็ต้องขายของ) แต่ด้วยการอยู่มือของผู้กำกับ มันเลยมีรูปร่างที่น่ามองได้ ถึงมันจะขายของเยอะแยะขนาดไหนก็ตาม แต่เราก็ว่าบาโยน่าค่อนข้างฉลาดทีเดียวในการเอาตัวรอดจากหนังใหญ่อย่างเรื่องนี้ได้…อะนะ

ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน

Kingdom of the Planet of the Apes (2024) อาณาจักรแห่งพิภพวานร

Badland Hunters (2024) นักล่ากลางนรก

Zombie Tidal Wave (2019)

Major Grom Plague Doctor (2021) ฮีโร่ปราบวายร้าย

The Dinosaur Project (2012) ไดโนซอร์ เจาะแดนลี้ลับช็อกโลก

แสดงความคิดเห็น

แชร์

หนังอื่นๆ ที่น่าสนใจ

The Jester (2023)
หนังฝรั่ง ซาวแทร็ค
หนัง

4

ดูหนังออนไลน์ 2023

เว็บดูหนังมาแรงในตอนนี้ สามารถดูหนังออนไลน์ฟรี 24 ชั่วโมง ที่มีคุณภาพที่สุดในตอนนี้ ไม่มีโฆษณามารบกวนใจ อีกทั้งมีหนังมากมายมาให้เลือกชม มากมายกว่า 10,000 เรื่อง ที่นี่มีหนังใหม่2023 จากค่ายดังทุกค่ายมาให้ทุกคนได้รับชมกันอย่างรวดเร็ว ไม่ว่า Netflix, Disney+, Viu , DC , Marvel ทำให้ท่านได้รับความสนุกเพลิดเพลินเหมือนได้รับชมอย่างสมจริงทั้งภาพที่คมชัดระดับ Full HD และเสียงภาพยนตร์ที่คมชัดมากที่สุด

ดูหนัง Netflix หนังใหม่

อ่านต่อที่นี่