Every Day a Good Day (2018) หัวใจ ใบชา ความรัก
เรื่องย่อ
Every Day a Good Day โนริโกะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ตามคำแนะนำของแม่โนริโกะเริ่มเข้าร่วมพิธีชงชาแบบญี่ปุ่นใกล้บ้านกับมิชิโกะลูกพี่ลูกน้องของเธอ ที่นั่นโนริโกะเรียนรู้จากครูทาเคดะ ตอนนี้โนริโกะมีพิธีชงชาแบบญี่ปุ่นในชีวิตของเธอและมีไว้สำหรับเธอในช่วงเวลาที่เธอเศร้าหรือมีความสุข หัวใจ ใบชา ความรัก เล่าเรื่องราวของ โนริโกะ ( คุโรกิ ฮารุ ) นักศึกษาสาวปี 3 และลูกพี่ลูกน้องของเธอ มิจิโกะ ( ทาเบะ มิคาโกะ ) ที่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมเรียนชงชาแถวละแวกบ้านตามคำแนะนำของผู้เป็นแม่ ที่นั่นเอง โนริโกะได้เรียนรู้พิธีชงชากับอาจารย์ทาเคดะ ( กิกิ คิริน ) และแล้วการชงชา ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ ไม่ว่าจะในยามทุกข์ หรือสุข นี่คือเรื่องราวการค้นหาความหมายของหัวใจ ผ่านกลิ่นหอมและไออุ่นจากชา
ผู้กำกับ
- Tatsushi Ômori
บริษัท ค่ายหนัง
- Happinet
นักแสดง
- Haru Kuroki
- Mikako Tabe
- Kirin Kiki
- Mayu Harada
- Saya Kawamura
โปสเตอร์หนัง
รีวิว
“พิธีชงชาด้วยวิถีเซน ปลอบโยนหัวใจตัวเราได้อย่างไร Every Day a Good Day มีคำตอบ”
1). วิถีเซน กับ วิถีชงชา
เซน เป็นมีจุดกำเนิดมาจากอินเดีย ก่อนจะเผยแพร่หลายในแถบจีน ,เกาหลี และญี่ปุ่น โดยตัวความหมายของคำว่า เซน ในภาษาญี่ปุ่นมาจากคำว่า ฉาน มาจากตัวอักษรจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง ซึ่งมีรากคำตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี หมายถึง การตั้งจิตเกิดเป็นสมาธิ
กิจกรรมดื่มชาเขียวไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น มันมาจากจีนผ่านนักพรตจีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยช่วงสมัยนั้นชาเขียวถูกนำเข้าเป็นยาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานะเป็นเครื่องดื่ม ต่อมาในสมัยมาคาคุระ นักพรตญี่ปุ่น เออิไซ ผู้ก่อตั้งวิถีเซนคนแรกได้นำชามัทฉะจากจีนมาเป็นเครื่องดื่มในงานพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นคนคิดค้นรวมถึงเขียนหนังสือด้านวิธีใช้การทำชาด้วยการบดใบชาก่อน, ค่อยๆเทน้ำร้อนผสมลงและใช้แปรงกวาดน้ำและชาให้เข้ากันเกิดเป็นวิธีการที่เรียกว่า ชาโด หรือ วิถีแห่งชา วิธีการนี้ทำชาแบบใหม่ด้วยคอนเซ็ปท์ “ชาเพื่อสุขภาพ” วิธีการนี้พาให้คนญี่ปุ่นต่างถูกใจ เกิดการสานต่อและแพร่หลายในวงคนชั้นสูงตั้งแต่โชกุนยันซามูไรในญี่ปุ่น
พิธีกรรมชงชาเกิดขึ้นในสมัยมุโรมาจิ เมื่อสถาปนิกญี่ปุ่นทำห้องสำหรับซามูไรด้วยการออกแบบสไตล์โชอิงหรือวัดเซนญี่ปุ่นมาผสานกับตัวห้องโดยมีการตั้งโทโกะโนะมะ ซึ่งเป็นซุ้มตกแต่งมีลักษณะเป็นพื้นยกเล็กน้อย นิยมประดับด้วย คาเคจิคุ (ม้วนภาพแขวน เป็นอักษรก็ดี ภาพวาดก็ดี) ,แจกันดอกไม้ และรูปแกะสลัก สำหรับรับแขก) ปูพื้นด้วยเสื่อตาตามิ เหมาะสำหรับเป็นห้องท่องหนังสือ ซึ่งต่อมานิยมเป็นห้องรับแขก
มุราตะ ชูโกะ อดีตนักพรตเซน เป็นผู้ทำให้พิธีชงชาเกิดเป็รูปเป็นร่าง เขาเป็นที่ปรึกษาแก่โชกุน อาชิกะงะ โยชิมาสะ ด้วยตำแหน่งของชูโกะเป็นถึงผู้ใหญ่ระดับสูง ชูโกะสามารถจัดทำห้องรับแขกซามูไรมารับกับพิธีการชงชาของเขาได้และนำวิถี “ซะบิ” แปลว่า ความเงียบสงัด สภาพจิตใจที่สงบนิ่ง มาใช้ในการชงชาซึ่งเป็นการใส่ความงามลง
ปรมาจารย์แห่งพิธีชงชา เซน โนะ ริคิว เป็นผู้ปรับวิธีการชงชาทั้งหมดต่อจาก ชูโกะ มาใช้เกิดเป็นการชงชาในรูปแบบเซนแบบที่เห็นในปัจจุบัน คือการนำความเรียบง่ายสู่การชงชา ขนาดต้อนรับ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ Every Day a Good Day ไดเมียวผู้แกร่งกล้าของโอดะ โนบุนากะมายันเรือนรับรองชาริคิวยังต้อนรับเขาด้วยห้องขนาดเล็กสองเสื่อครึ่งตาตามิ ก่อสร้างห้องด้วยไม้และดินอย่างเรียบง่าย แถมในสวนยังไน้ดอกไม้ประดับให้สวยงามอีก จุดนี้เองทำให้การชงชาเป็นเรื่องที่เรียบง่ายพ้องกับคำว่า “วาบิ-ซาบิ” แนวคิดศาสนาเซนวาบิ หมายถึง ความไม่สมบูรณ์แบบหรือเรียบง่ายจนไม่เด่น ส่วนคำว่า ซาบิ หมายถึงความไม่จีรังของทุกสรรพสิ่งตามกาลเวลาธรรมชาติ เมื่อรวมความหมายจึงเป็นหลักว่าด้วย”ความเบิกบานใจในความไม่สมบูรณ์ในชีวิตอย่างเรียบง่าย ซึ่งเข้ากับพิธีชงชาที่มีการพินิจวิเคราะห์ถ้วยชาม, การให้ความสำคัญกับเวลาชงชา จะมองครูก็ดี จะมองวิธีการก็ดี เป็นการครองสติให้มั่น
สรุปการใช้เซนกับพิธีชงชา หรือที่เรียกในญี่ปุ่นว่า ชาโนยุ (Chanoyu) เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากพุทธแบบเซน โดยมีหัวใจในเรื่องของความเรียบง่าย ,การผสมกลมกลืนไปกับธรรมชาติแวดล้อม, การสำรวมอ่อนน้อมต่อคนอื่น และมีสติต่อสิ่งที่ทำทุกขั้นตอนเพื่อให้จิตใจสงบนิ่งและนี่คือใจความหลักในหนังเรื่อง Every Day a Good Day เช่นกัน
2). หนังกับห้องชงชา มันสัมพันธ์กันได้อย่างไร
หนังว่าด้วยเรื่องของ โนริโกะ สาววัย 20 ปีกำลังเรียนอยู่มหาวิทยาลัย กำลังพยายามจับบางอย่างให้เธอไม่ต้องหลงเคว้งและอยากทำให้พ่อแม่ภูมิใจ วันหนึ่งแม่ของเธอแนะนำให้เธอไปเรียนชงชากับคุณป้าทาเคดะ มาสเตอร์ชงชาหญิง โดยมี มิจิโกะ ญาติของเธอมาร่วมแจมด้วยซึ่งก็ทำให้โนริโกะกดดันไปอีกเพราะญาตินางมีความกล้าและทำอะไรก็เก่งไปผล หารู้ไม่ว่าพิธีชงชาจะเป็นดั่งการเดินทางสู่การเยียวยาจิตใจ โนริโกะ ในเวลาต่อมา
สำหรับหนังเรื่อง Every Day a Good Day ดัดแปลงจากความเรียงของโนริโกะ โมริชิตะ ที่มีเค้าโครงจากประสบการณ์ชีวิตจริงของเธอตลอด 20 กว่าปี และยิ่งคุณโทโมมิ โยชิมูระ โปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนี้เคยกล่าวถึงหนังเรื่องนี้ตอนที่หนังฉายเทศกาลอาเซียนในไทยไว้ว่า”ผมอยากให้หนังเรื่องนี้ออกมาคารวะหนังสือเท่าที่เป็นไปได้”จึงเป็นโจทย์ยากที่ว่าจะทำอย่างไรให้เล่าตามหนังสืออกมาได้
หนังเลยนำเสนอออกและพาคนดูสู่โลกของโนริโกะผ่านน้ำเสียงในหัวของโนริโกะ (VoiceOver) Every Day a Good Day ค่อยๆพรรณนาถึงสิ่งที่เธอประสบมาในชีวิตแถมทุกข์อีกต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นการที่เธอมักเอาตัวเธอเทียบกับคนอื่นจนรู้สึกด้อย, ความอยากให้ครอบครัวของเธอภาคภูมิใจ และ การโทษตัวเองที่ทำอะไรไม่สมบูรณ์แบบเลย เป็นต้น ตัดสลับกับบ้านโรงน้ำชาของป้าทาเคดะให้เกิดพื้นที่ผ่อนคลายและการเรียนรู้จากความเรียบง่ายของชีวิต
วิธีการเล่าด้วยน้ำเสียงในหัวตัวละคร นอกจากจะเป็นการรวบรัดเหตุการณ์ที่ตัวละครเจอให้กระชับและสั้น (เพราะหนังเล่าชีวิตโนริโกะกินเวลาถึง 20 ปี) มันยังเป็นน้ำเสียงเหมือนกับเวลาคนเราอ่านหนังสือจะมีเสียงในหัวมาช่วยให้อ่านง่ายขึ้น ใช่แล้ว หนังเล่าเรื่องเหมือนให้คนดูอ่านหนังสือที่เรียกว่า “ภาพยนตร์” นั้นแหละ
ยิ่งไปกว่านั้น หนังยังใช้วิธีลำดับภาพเชื่อมต่อเหตุการณ์ด้วยการทำภาพค่อยๆดำเหมือนกับการพลิกหน้ากระดาษเปลี่ยนบทเรียนชีวิตตัวละคร ซึมซับสิ่งที่ตัวละครเผชิญและเรียนรู้ไปกับคนดูพร้อมๆกัน
หนังจึงไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่าของตัวละครเท่านั้น มันยังเป็นเรื่องที่คนดูมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงได้ไม่มากก็น้อย ให้ลองนึกถึงชีวิตแย่ๆที่เราเจอมา ทั้งความไม่สมบูรณ์ของชีวิต, ความคาดหวังจากสังคม, การจมอยู่ที่ไม่ไปไหน และความเคว้งของชีวิต อันเป็นสิ่งที่เราเจอในชีวิตประจำวันของเราสัมผัสได้
อีกอย่างที่น่าสนใจของ Every Day a Good Day คือการเผยให้เห็นครูสอนชงชาผู้หญิงวัยชราว่าเธอไม่ได้เป็นอาจารย์ที่แข็งทื่อแบบหุ่นยนต์แบกรับคำสอน ตัวเธอกลับบอบบางและมีอดีตโรยลาพาล้าหัวใจไม่แพ้โนริโกะเลย หน่ำซ้ำตัวละครนำพิธีชงชาในเรื่องต่างอ่อนน้อมถ่อมตนรวมถึงเอ่ยปากถึงผู้ร่วมห้องชงชาถึงความไม่พร้อม ไม่เก่งนัก แต่จะพยายามทำได้ดีที่สุด รวมถึงการแสดงความรู้สึกซื่อตรงกับใจเช่น ไปร่วมงานแต่งงาน ก็ร้องไห้ออกมาไม่ปกปิดแต่อย่างใด เป็นต้น ด้วยรายละเอียดที่ผู้สร้างยื่นให้กับตัวละครจึงทำให้อาชีพครูชงชาเป็นมนุษย์เหมือนกับลูกศิษย์ที่ต่างต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันและเป็นการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
จุดนี้จึงพ้องไปกับสี่แก่นหลักจากพิธีชงชาที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันได้แก่ “วะ” การปรองดอง – เป็นการเคารพทุกคนเสมอเราทั้งในพิธีชงชาและโลกด้านนอกเรา (เช่น การโค้งให้กันต่อผู้เข้าห้อง-ออกห้อง), “เคย์” การเคารพ – การตื่นตัวกับบทบาทของตนเอง ,การรับผิดชอบตัวเองและประพฤติตนให้เหมาะสม (การสำรวมให้เกียรติกัน), “เซย์” ความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ – สัญญาใจเพื่อคงอยู่ระหว่างสังคมกับตัวเรา (ประมาณตนเพื่ออยู่ร่วมกัน) และ “จากุ” ความงามและความสงบ – การลิ้มรสช่วงเวลาพบสิ่งใหม่
จากที่กล่าวมาข้างต้น ห้องชงชาจึงเป็นสถานที่พิเศษสำหรับผู้คนอยู่รวมกัน ประพฤติตนเองให้เรียบง่ายและเปิดรับสิ่งที่เข้ามา กลมกลืนเป็นหนึ่งกับธรรมชาติเพื่อเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา จะธรรมชาติก็ดี จะแวดล้อมก็ดี จะตัวเราก็ดี และพาให้คนช่วมพิธีชารวมถึงคนดูได้เยียวยาและเข้าใจตนเองยิ่งขึ้น
3). ภาพยนตร์, ประสบการณ์ชีวิต Every Day a Good Day กับความหมายของ “จะวันนี้ วันไหน ก็วันดี”
ในหนังเรื่องนี้มีการกล่างถึงหนังคลาสสิกระดับบรมครูถึงสองเรื่องด้วยกัน เรื่องแรกจัดเป็นหนังอิตาลีดีกรีได้ออสการ์หนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม อีกเรื่องเป็นหนังสัญชาติญี่ปุ่นชั้นครูดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิกอีกต่างหาก
เรื่องแรกที่กล่าวถึงคือ La Strada เป็นหนังที่โนริโกะบอกว่าเคยดูสมัยเด็ก ทว่าไม่เข้าใจตัวหนังเพราะด้วยวัยวุฒิภาวะยังเด็กอยู่ มารู้จักความหมายของหนังก็คือตอนโตไปแล้ว สำหรับหนังเรื่องสัญชาติอิตาเลี่ยนเรื่องนี้เป็นผลงานของเฟเดอริโก เฟลลินี ผู้กำกับที่ช่ำชองเรื่องการเนรมิตรสถานการร์เหนือจินตนาการผสานความทรงจำอันเป็นเรื่องส่วนตัวอย่างลงตัวและทรงพลัง
La Strada ว่าด้วยเรื่องเกลโซมิน่า หญิงสาวยากไร้แต่ใจงามและผู้มองโลกนแง่ เธอถูกแม่ผลักไสให้ทำงานเดินเร่การแสดงกับนักกล้าม ซัมปาโน ผู้ใจดำพาเธอเดินทางทั่วอิตาลีเพื่อเรียกเงิน แรกๆ ก็ดูดีอยู่หรอก แต่เกลโซมิน่าดันต้องการคือความรักจากใครสักคนที่มีให้ ซึ่งสวนทางกับแวดล้อมรอบกายเธอเหลือเกิน ท่ามกลางช่วงอิตาลีมีสภาพเมืองเสื่อมโทรมช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
จุดสนใจอย่างหนึ่ง เกลโซมิน่ามักจะเรียกร้องความสนใจจากซัมปาโนเสมอให้เขามาสนใจตัวเธอ ซึ่งแน่นอนว่าเขาไม่ได้ใส่ใจตัวเธอ มันก็ดูซ้อนทับกับตัวละครโนริโกะเป็นอย่างดี ถึงแม้เธอจะไม่ได้เรียกร้องความสนใจ แต่เธอพยายามเข้ามาคนอื่นเพื่อให้รู้สึกว่าตัวเธอมีประโยชน์
หนังอีกเรื่องที่ถูกโนริโกะกล่าวถึงในวันที่พิธีชงชาเต็มไปด้วยคุณป้าชงชา เป็นหนังชั้นครูญี่ปุ่นโดย คอน อิชิคาวะ ดัดแปลงจากวรรณกรรมชั้นครูของทานิซากิ จุนอิจิโร ที่มักเล่าเรื่องตัวละครมากด้วยแรงปรารถนาและราคะซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ กับหนังชื่อ The Makioka Sisters เป็นเรื่องราวของสี่สาวพี่น้องตระกูลมากิโอกะที่มีแผนไว้ว่าต่อให้ชีวิตเป็นอย่างไรก็ต้องมาชมซากุระพร้อมตากันให้ได้โดยเนื้อหาจะเล่าเรื่องในช่วงก่อนจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง
ในฉบับภาพยนตร์ของสี่พี่น้อง ผู้กำกับเป็นคนถนัดใช้เทคนิกภาพยนตร์มาเสริมแต่งให้ภาพสวยจนประดิษฐ์เพื่อสะท้อนความรู้สึกของตัวละครออกมา ไม่ว่าจะเป็นการเซ็ทฉากบ้านพร้อมจัดแสงสีแปลกตาของสถานที่ตอนที่ตัวละครรู้สึกไม่มั่นใจ หรือ เวลาออกไปเที่ยวแล้วรู้สึกดี ภาพจะฟุ้งเกินจริงตอกย้ำอารมณ์หวานความรู้สึกของตัวละคร เป็นต้น จากกรณีที่บอกข้างต้น Every Day a Good Day แทบจะทำตรงข้ามกับ The Makioka Sisters ด้วยการใช้ภาพเรียบง่ายด้วยแสงธรรมชาติ และพยายามใช้ลูกเล่นกล้องด้วยการตั้งกล้องนิ่งให้เห็นถึงพิถีชีวิตตัวละคร ซึ่งเป็นใช้ที่ขัดกับหนังสี่พี่น้อยตระกูลใหญ่อย่างยิ่ง
แต่สิ่งที่พาให้ทั้งสองหนังเชื่อมโยงกันเป็นเรื่องของเวลา กาลเวลาที่เปลี่ยนไปในแต่ละฤดูและแต่ละปี ตัวละครต่างค่อยๆเผชิญกับความทุกข์จากสิ่งรอบข้างและบีบเหล่าผู้หญิงจากอดีต คำมั่นสัญญาของตนเองพาสู่ครรลองกรอบความคิดของตนเองเท่านั้น
หากยังจำหลักวาบิ-ซาบิที่กล่าวมาข้างต้น เวลา เป็นตัวช่วยในการเข้าใจความไม่จีรังแบบฤดูกาลใน The Makioka Sisters การเข้าใจในความไม่สมบูรณ์ในตัวเราและอย่าลืมที่เข้าหาเราแบบซัมปาโนใน La Strada ทั้งสองเรื่องต่างสะท้อนและเป็นหมุดยึดหนังเรื่อง Every Day a Good Day ได้อย่างสวยงามและเห็นภาพ
ถึงแม้ว่า Every Day a Good Day จะเป็นหนังที่ไม่สมบูรณ์ในการเล่าเรื่อง ทั้งเรื่องการใช้เทคนิกภาพยนตร์ที่พาให้คนดูสะดุดจากหนังจากการเล่าแบบอ่านหนังสือทีละบท ,การให้ฉากระลึกถึงอดีต, มีฉากดราม่าแบบบังคับให้เรียกน้ำตาและการใช้ดนตรีบิ้วทำให้ความเรียบง่ายดูเป็นเรื่องใหญ่โตทั้งที่ไม่ต้องบิ้วก็ได้ แต่ว่า Every Day a Good Day สามารถปลอบประโลมคนดูได้เหมือนอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ขัดเกลาตัวเรา ทำให้สิ่งแวดล้อมตัวเราดูมีค่ามากขึ้นไม่ต่างจากเราเข้าพิธีชงชาด้วยตัวเราเองเลย
ป.ล.สิ่งที่ประทับใจเราที่สุดคือ การได้เห็น “คุณแม่แห่งภาพยนตร์ญี่ปุ่น” คิริน กิกิ มีชีวิตในหนังอีกครั้งและชวนคิดถึงนางอยู่เสมอ แม้คิรินจะเสียชีวิตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว เราเลยได้มาระลึกถึงการแสดงที่ประณีตเปี่ยมมิติของนางได้อีกครั้งบนจอเช่นกัน และครอบประโลมเราให้รู้ว่าถึงแม้ชีวิตเธอไม่จีรัน แต่ชีวิตในหนังเธอจะเป็นนิรันดรสำหรับคนดูอย่างเราตลอดไป
หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการค้นพบความหลงใหลในชีวิตของคุณโดยบังเอิญโดยที่คุณไม่รู้ตัว บางครั้งคุณแค่ทำบางอย่างเพราะคุณต้องการลองอะไรใหม่ๆ และในที่สุดมันก็กลายเป็นความหลงใหลของคุณ หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าๆ แต่ก็มีการแสดงที่ดีอยู่บ้างและมีฉากอารมณ์บางฉาก เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กผู้หญิงที่เรียนจบแล้วแต่การรับรู้ความเป็นจริงของเธอนั้นผิด เธอไม่สามารถหางานได้ แฟนหนุ่มของเธอทิ้งเธอไป และเธอก็พบความสุขเล็กๆ น้อยๆ ในกระบวนการชงและเสิร์ฟชา
หนังเรื่องนี้มีนักแสดงหญิงเป็นส่วนใหญ่ (ฉันคิดว่ามีนักแสดงเพียง 2 – 3 คน) อย่างน้อย 80% ของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในห้องน้ำชา แต่เพราะเนื้อเรื่องมันจึงเข้ากันได้ดี เรื่องราวดำเนินไปค่อนข้างเร็ว ตัวอย่างเช่น ฉากหนึ่งเกิดขึ้นในหนึ่งวัน จากนั้นฉากต่อไปก็ดำเนินไปอย่างรวดเร็วในอีกหนึ่งปีต่อมา หนังเรื่องนี้ครอบคลุมชีวิตของนางเอกของเราประมาณ 25 ปีในเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง แต่นั่นไม่ใช่ส่วนที่สำคัญ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเร็วของเวลาและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไป ยังไงก็ตาม มันเป็นภาพยนตร์ที่ดี และเราได้เห็นนักแสดงหญิงในตำนานของญี่ปุ่นอีกครั้งก่อนที่เธอจะเสียชีวิต 8/10
นี่คือภาพยนตร์ที่ชีวิตเปรียบเสมือนถ้วยชาเขียว Every Day a Good Day พิธีชงชาของญี่ปุ่นกลายเป็นแนวทางเชิงปรัชญาและพิธีกรรมในการให้เกียรติ ให้ความเคารพ ให้ความสมดุลและเข้มงวดในฐานะส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรและฤดูกาลในชีวิต ซึ่งสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ก็แตกต่างไปอย่างไม่สามารถรับรู้ได้เมื่อเวลาผ่านไป มีช่วงหนึ่งในภาพยนตร์ที่กล้องดูเหมือนจะแยกตัวออกจากเรื่องราวและซูมเข้าไปยังระดับเซลล์ที่เต้นของใบไม้ ช่วงเวลาที่อยู่นอกบริบทนั้นคือสิ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการสื่อถึงพอดี นั่นคือชีวิต!
นักศึกษาชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อโนริโกะ ซึ่งกำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีถัดไป มักถูกมองว่าเป็นคนน่าเบื่อและไม่ค่อยประสบความสำเร็จในชีวิต เธอเคยได้รับคำแนะนำจากแม่ให้เข้าเรียนชั้นเรียนชาโดะเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับพิธีชงชาแบบดั้งเดิม โดยไม่รู้ว่าพิธีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากและจะเป็นที่พึ่งของเธอในการแสวงหาความสุขในสักวันหนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของเธอตลอดทั้งวันที่แย่และวันที่ดีโดยไม่ได้เน้นที่วันเหล่านั้นตามวิถีการดื่มชา แต่ภาพยนตร์ได้เผยให้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ทีละเหตุการณ์เพื่อให้เรารับรู้ถึงจุดประสงค์ของชาและคิดหาวิธีเสริมสร้างความตระหนักรู้ในตนเองเพื่อเติมเต็มตนเอง ชาโดะเป็นชุดการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนซึ่งคุณจะซึมซับได้น้อยมากหากคุณวิเคราะห์มากเกินไป
หรือมองข้ามบ่อยเกินไป เป็นเรื่องยากที่จะจดจำได้หากจิตใจยังคงถามถึงเหตุผล เช่นเดียวกับวิธีที่เราสร้างการรับรู้ของเรา ในฐานะผู้สังเกตการณ์ เราจะมองประสบการณ์การดื่มชาจากความสมดุลที่กลมกลืนระหว่างแขก เจ้าภาพ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ จากองค์ประกอบที่มากับเครื่อง เช่น ชาม ขนมหวาน หรือภาพวาดหมึกในห้องชาไม้ แต่สิ่งที่น่าพึงพอใจที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดคือความเงียบสงบในช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างฤดูกาลที่ผ่านไปและฤดูกาลที่มาถึง เราจะเพลิดเพลินกับช่วงเวลานี้ให้เต็มที่หากเราจดจ่ออยู่กับช่วงเวลาเหล่านี้ โนริโกะใช้เวลา 24 ปีกว่าจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ทุกวันคือวันที่ดี” แต่ในที่สุดเธอก็สามารถทำให้ความฝันของเธอเป็นจริงได้
ดูหนังออนไลน์ ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Juno (2007) จูโน่ โจ๋ป่องใจเกินร้อย
The Neon Demon (2016) สวยอันตราย
The Postman (1997) คนแผ่นดินวินาศ