Akira Kurosawas Dreams (1990) ความฝันสุดท้ายของคุโรซาวะ
เรื่องย่อ
นี่เป็นหนังสั้นแยกกันแปดเรื่อง แม้ว่าจะมีคาแรคเตอร์บางส่วนและเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นที่คาบเกี่ยวกัน ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมของเขา ‘แสงแดดส่องผ่านสายฝน’: เด็กหนุ่มถูกสั่งไม่ให้ออกไปในวันที่สภาพอากาศทั้งสองเกิดขึ้น เพราะนั่นเป็นช่วงที่สุนัขจิ้งจอกจัดขบวนงานแต่งงาน ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ‘The Peach Orchard’: เด็กหนุ่มคนเดียวกันได้พบกับวิญญาณของต้นพีชที่มนุษย์ไร้หัวใจโค่นล้ม Akira Kurosawas Dreams
‘The Blizzard’: ทีมนักปีนเขาได้รับการช่วยเหลือจากพายุหิมะด้วยการแทรกแซงทางจิตวิญญาณ ‘อุโมงค์’: ชายคนหนึ่งเผชิญหน้ากับผีของหมวดทหารซึ่งเขาต้องรับผิดชอบเสียชีวิต ‘อีกา’: นักศึกษาศิลปะพบ ‘Vincent Van Gogh’ และเข้าสู่โลกของภาพวาดของเขา ‘ภูเขาไฟฟูจิในชุดแดง’: การล่มสลายของนิวเคลียร์คุกคามความหายนะของญี่ปุ่น ‘The Weeping Demon’: ภาพเหมือนของโลกหลังนิวเคลียร์ที่มีการกลายพันธุ์ของมนุษย์ ‘Village of the Watermills’: ภาพเหมือนของหมู่บ้านที่มีประชากรเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
ผู้กำกับ
- Akira Kurosawa
- Ishirô Honda
บริษัท ค่ายหนัง
- Akira Kurosawa USA
นักแสดง
- Akira Terao
- Mitsuko Baishô
- Toshie Negishi
- Mieko Harada
- Mitsunori Isaki
- Toshihiko Nakano
โปสเตอร์หนัง
รีวิว
Akira Kurosawas Dreams เมื่อหลายปีก่อนเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น คือเหตุการณ์สึนามิ และทำให้มีไฟไหม้ ณ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะที่ได้เกิดระเบิดไปแล้วก่อนนี้แล้ว ซึ่งขณะนี้วิกฤตแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลายตามหลังแผ่นดินไหวและสึนามิ นำไปสู่การตัดกระแสไฟฟ้าและก่อความเสียหายแก่ระบบหล่อเย็นจนเอาความร้อนไว้ไม่อยู่ ครั้งนั้นผมนึกถึงชายชราคนหนึ่ง และเรื่องราวบางอย่างที่เขาเล่าให้ผมฟังในปีสุดท้ายก่อนที่ท่านจะจากโลกใบนี้ไป ตอนที่ คุโรซาว่า อากิร่า ลงมือสร้างภาพยนตร์เรื่อง Dreams – ในต่างประเทศจะใช้ชื่อว่า Akira Kurosawa’s Dreams หรือ I Saw a Dream Like This – ได้มีอายุราวๆ 80 ปีแล้ว (หาก คุโรซาวา ยังมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้ ท่านจะมีอายุ 108 ปี – เกิด 23 มีนาคม 1910) ชีวิตท่านผ่านมาทั้งหมด ทั้งยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุคทหาร สงครามโลก และ ยุคทุนนิยมหลังสงคราม ภาพยนตร์เรื่องนี้เปรียบเสมือนการบันทึกชีวิตและมุมมองทั้งหมดของผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถ่องแท้
ผมนึกภาพยนตร์เรื่องนี้ ถ้าพูดให้ถึงที่สุดจริงๆ ผมนึกถึง 4 ตอนในภาพยนตร์เรื่องนี้ (ซึ่งมันเป็นเรื่องเล่าสั้นๆทั้งหมด 8 ตอน) หนังของคุโรซาว่า ถ้าดูให้ดีดี จะมีจุดยืนหนึ่งที่แฝงมาในหนังทุกเรืองคือมนุษย์เราช่างอ่อนแอ และการกระทำต่างๆของมนุษย์จะทำลายสิ่งทีดีงามและสร้างหายนะให้แก่ตัวเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสงครามเพื่ออำนาจ หรือการทำลายธรรมชาติเพื่อความสะดวกสบาย ตอนที่สอง The Peach Orchard พูดถึงมุมมองของเด็กคนหนึ่งต่องาน the Doll Festival งานคารวะตุ๊กตาที่เป็นตัวแทนของดอกต้น peach ที่จะบานงดงามในฤดูไม้ไม้ผลิ แต่ส่วนที่เสียดสีคือ เด็กทุกคนทำได้แค่แต่งตัวตุ๊กตาบนโต๊ะบูชาในขณะที่ต้นไม้จริงๆน่ะ พ่อแม่ของเขาตัดไปขายหมดแล้ว !!!!
วิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ได้ออกมาพบกับเด็กเพียงคนเดียวที่ร้องให้ขอร้องไม่ให้ตัดต้นไม้ และร่ายรำตามประเพณีให้เขาดูเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะจากไปตลอดกาล ปู่เหมือนพยายามจะบอกว่า ถ้าเราทำลายธรรมชาติ ไม่เพียงธรรมชาติจะหายไปเท่านั้น Akira Kurosawas Dreams ประเพณีบางอย่างก็จะเสื่อมถอยคุณค่ามันลงไปด้วยไม่ต่างกัน ก่อนปู่จะเสียชีวิต ตอนนั้นญี่ปุ่นได้มีโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แล้ว แน่นอนว่าท่านไม่เห็นด้วยและสื่ออกมาในรูปแบบความฝันบนแผ่นฟิลม์ ซึ่งปรากฎอยู่ในตอนที่ 6 และ 7
ตอนที่ 6 – Mount Fuji in Red ภูเขาไฟฟูจิแดงเดือด – คุโรซาว่าบอกไว้ประมาณว่าเป็นฝันร้ายของผม เมื่อถึงวันที่โรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เกิดระเบิดขึ้นมาจริงๆ ความโกลาหนวุ่นวายจะมากมายสักแค่ไหน เรืองเล่าผ่านมุมมองของชายหนุ่มที่พยายามเข้าไปช่วยผู้หญิงที่มีลูกเล็กๆสองคน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในสถานการณ์เช่นนั้น “มนุษย์เรามันช่างโง่เขลาจริงๆ” ตัวละครคนหนึ่งพูดก่อนจะฆ่าตัวตายให้พ้นๆไปเสีย ฝันร้ายของชายชรายังคงต่อเนื่องไปในตอนที่ 7 The Weeping Demon (ปีศาจที่ร่ำให้) ชายหนุ่มคนเดิม (ผมค่อนข้างเชื่อว่าเขาคือตัวแทนของคูโรซาว่าเอง) หลงไปในดินแดนหลังจากเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด สารกมันตภาพรังสีปกคลุมไปทั่ว สิ่งมีชีวิตทั้งหมดกลายพันธ์ ไม่ใช่แค่มนุษย์ แม้แต่ดอกไม้ใบหญ้าก็พาให้เปลี่ยนแปลงสถาพ
ผู้คนกลายเป็นกึ่งคนกึ่งปีศาจ กินเนื้อกันเองเพื่อประทังชีวิต แหล่งน้ำที่เหลืออยู่ก็เป็นพิษจนแดงฉาน สภาพที่เห็นคล้ายกับนรกบนดินเราดีดีนี่เอง เรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป และในประเทศไทยนี้ นายกรัฐมนตรีก็ใช่ว่าจะมีอำนาจขนาดตัดสินใจอะไรได้ มันมีผลประโยชน์ทับซ้อนมากมายกว่านั้น ผมเห็นว่านโยบายสาธารณะในประเทศไทยขนาดใหญ่ๆ ในกรณีนี้คือ การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประชาชนทั่วไป แทบจะไม่เคยเข้ามามีส่วนในการบอกว่าอะไรสร้างได้ สร้างไม่ได้ คือในทัศนะของผู้บริหารรัฐบาลตลอดมา ประชาชนไม่มีตัวตน ไม่มีจะมีเสียงมาคัดค้านและไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้น
การเคลื่อนไหวของประชาชนระดับล่าง Akira Kurosawas Dreams ในการเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนโยบายสาธารณะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถึงเวลาเดือดร้อนจริงๆขึ้นมา ประชาชนตาดำๆเท่านั้นแหละที่ได้รับผลนั้น คนอย่างพวกนักการเมืองและเศรษฐีก็บินหนีไปไหนหมดแล้วก็ไม่รู้ แต่ตัวอย่างในการต่อต้านเรื่องถ่านหินของชาวนครฯถือเป็นสัญญาณอันดี ที่ประชาชนจริงๆจะขอมีสิทธิ์กำหนดได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของพวกเขา ภาพยนตร์เรื่อง Akira Kurosawa’s Dreams ออกฉายเมื่อปี 1990 หนังได้รับคำชมแบบก้ำกึ่ง ส่วนใหญ่บอกว่าคูโรซาว่าลดทอนชั้นเชิงการเล่าเรื่องลงไป เหลือไว้แต่ศิลปะด้านภาพและการแสดงเท่านั้น (แต่หนังเรื่องนี้ภาพจะสวยก็สวยจริง บทจะน่ากลัวก็เอากันขนลุก) บางคนบอกว่าเหมือนฟังคนแก่เล่านิทาน แต่มันเป็นหนังที่ผมชอบที่สุดของผู้กำกับท่านนี้ คอหนังท่านไหนยังไม่ได้ดูก็ขอให้หามาดูให้ได้
หลังจากที่ดูไปเกือบสิบรอบ ผมคิดว่าคำตอบน่าจะอยู่ที่ชื่อหนัง มันเป็นความฝันของชายชราคนหนึ่งซึ่งอยากบอก อยากเตือนอะไรบางอย่างแก่ลูกหลาน และในวัย 80 แกคงคิดว่าเวลาเหลือไม่มากพอที่จะมาบอกอะไรแบบอ้อมๆอีกต่อไปแล้ว มีอะไรปู่่ก็ขอบอกพวกเอ็งตรงๆอย่างนี้แหละ จะฟังหรือไม่ฟังก็ตามใจ !!! และหนังมาสรุปเอาองค์สุดท้ายในตอน Village of the Watermills ปู่แกบอกตรงๆในตอนสุดท้ายที่ชายหนุ่มคนเดิมไปเดินทางไปพบหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ที่สงบสุขมีเด็กๆวิ่งเล่นกัน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีรถราอะไรทั้งสิ้น เขานั่งลงและสนทนากับชายชราผู้หนึงซึ่งบอกว่าตัวเองอายุ 100 กว่าปีแล้ว
“คนเราน่ะ สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตจะมีอะไรมากไปกว่า น้ำสะอาด และอากาศบริสุทธิ์” Akira Kurosawas Dreams แกสั่งสอนชายหนุ่มก่อนที่แกจะขอตัวไปร่วมงานศพแฟนครั้งวัยรุ่นที่ตายไปตอนอายุราวๆ 100 ปีเหมือนกัน คูโรซาว่า อากิร่า เป็นนักมนุษย์นิยม หนังทุกเรื่องของท่านแม้จะผ่านความเลวร้ายหายนะขนาดไหน ทั้งภายในภายนอกตัวละคร แต่สุดท้ายท่านก็ยังมีเชื่อมั่นกับคนรุ่นถัดไป ฝันสุดท้ายของปู่นั้น ช่างงดงาม และเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง (แม้แต่ซีนงานศพก็เหมือนกับงานรื่นเริง เพราะปู่บอกว่าอยู่มาเกิน 100 ปีแล้ว ถึงเวลาจะตายไปก็ไม่ต้องเสียใจกันหรอก – เหมือนปู่่คูโรซาว่าจะบอกลาแฟนหนังกลายๆเหมือนกัน)
ภาพยนตร์เรื่องนี้อายุ 28 ปี ใกล้เคียงกับเวลาที่ปู่ คูโรซาว่า อากิร่า จากโลกนี้ไป แต่มันก็ทันสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ ปู่คงไม่ดีใจเท่าไรที่ฝันของปู่ที่ทำนายไว้บนแผ่นฟิลม์เกือบจะเป็นจริงขึ้นมาในเวลานี้ และถ้าปู่มองอยู่คงจะภาวนาเหมือนกับผมคือให้ความเสียหายมันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และค่อยๆแก้ไขมันใหม่ในอนาคตข้างหน้าต่อไป และสำหรับเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ผมก็หวังว่าประเทศไทยก็จะได้เรียนรู้อะไรด้วยเหมือนกัน
ฉันรู้สึกประหลาดใจกับความฝันไม่เพียงแต่ในแง่ของเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสวยงามด้วย มีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่สามารถถ่ายทอดความกังวลส่วนตัว ในพื้นที่ และทั่วโลกได้เท่ากับที่ Akira Kurosava ทำได้ในการผลิตเรื่องนี้ มีหัวข้อย่อยมากมายที่ยากจะเน้นให้เหลือเพียงไม่กี่เรื่องเพื่อจุดประสงค์ในการวิจารณ์ครั้งนี้ แต่ฉันเชื่อว่าเป็นการยุติธรรมที่จะบอกว่า Dreams ถ่ายทอดความฝันและฝันร้ายของแต่ละคนและส่วนรวม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบางครั้งสิ่งที่เราฝันในวันนี้ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้เรานอนไม่หลับในวันพรุ่งนี้ การนำเสนอความกังวลที่หลากหลายตั้งแต่ความกังวลและจินตนาการในวัยเด็กที่ลึกซึ้งและเป็นส่วนตัวที่สุด ไปจนถึงปัญหาที่ซับซ้อนกว่าอย่างโรคทางจิต ความทะเยอทะยานที่มากเกินไป การทำลายสิ่งแวดล้อมของเรา และความตาย Akira Kurosawas Dreams โดยรวมแล้ว ฉันขอแนะนำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับทุกคนที่มีโอกาสได้ชม เป็นไปได้ที่ Dreams อาจไม่ดึงดูดผู้ชมทั่วไปในแง่ของเนื้อหา เนื่องจากมีสัญลักษณ์และการมีส่วนร่วมเชิงวิจารณ์มากมาย แต่ภาพถ่ายและฉากต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาดสำหรับใครก็ตาม หากคุณมีโอกาส ก็คุ้มค่าที่จะสละเวลาชมจริงๆ เป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม
ในแง่ความรู้สึก ฉันชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยคุโรซาวะเมื่อเขาอายุ 80 ปีและเป็นภาพยนตร์สุดท้ายของเขา ผู้กำกับผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวสั้นๆ แปดเรื่องให้เราได้ดู ซึ่งมักจะดูเหมือนเป็นข้อความมากกว่าความฝัน โดยเล่าถึงอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์ การทำลายสิ่งแวดล้อม และความตายที่ไร้เหตุผลในสงคราม ความรู้สึกผิดเป็นหัวข้อที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และเนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ครอบคลุมตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา จึงดูเหมือนว่าเรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตของคุโรซาวะเองมาก ภาพต่างๆ มักจะสวยงาม และฉันชอบความฝันที่ 5 เรื่อง “Crows” มาก
ซึ่งเป็นเรื่องราวที่นักเรียนศิลปะวิ่งผ่านภาพวาดของแวนโก๊ะและได้พบกับเขา ผลงานที่โดดเด่นเรื่อง “Wheatfield with Crows” มีความหมายอย่างลึกซึ้งต่อช่วงท้ายชีวิตของแวนโก๊ะมาก จนเมื่อได้ชมผลงานชิ้นนี้ในผลงานของคุโรซาวะผู้ชราภาพ ฉันรู้สึกขนลุก ฉันไม่ได้รู้สึกแย่กับคำเทศนาที่มีอยู่ในความฝันอื่นๆ มากนัก แม้ว่ามันจะทำให้ความรู้สึกเหนือจริงของภาพยนตร์เรื่องนี้ลดน้อยลง แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่าคือจังหวะ ซึ่งมักจะช้าเกินไปเสมอ เป็นภาพยนตร์ที่แฟนๆ ของคุโรซาวะต้องดู และผมก็ดีใจที่ได้ดูมัน แต่ว่าควรมีการตัดทอนลงบ้าง
ดูหนังออนไลน์ ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
The Servant (2010) พลีรัก ลิขิตหัวใจ
Space Cadet (2024) สาวแสบซ่า ท้าอวกาศ
Skywalkers A Love Story (2024) คู่รักนักไต่ฟ้า
8.3