ดูหนังออนไลน์ใหม่2024 หนังเต็มเรื่อง ดูหนัง 2023 HDฟรี
8xbet212

ดูหนัง Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์

ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้

ตัวอย่าง

ดูหนัง Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์

ดูหนัง ออนไลน์ Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์ เต็มเรื่อง

ดูหนัง ออนไลน์ Midway เต็มเรื่อง มีเป้าหมายที่จะขยายดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อให้การโจมตีดังกล่าวมีโอกาสน้อยลง เป้าหมายต่อไปของพวกเขา: เกาะมิดเวย์ อย่างไรก็ตามกองทัพเรือสหรัฐฯกำลังสกัดกั้นข้อความของพวกเขาและได้ถอดรหัสรหัสเข้ารหัสของพวกเขาบางส่วนเพื่อเตือนให้ทราบถึงความตั้งใจของญี่ปุ่น กลุ่มภารกิจเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ 2 ลำถูกส่งไปที่มิดเวย์ส่งผลให้เป็นการต่อสู้ครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

ดูหนัง Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์
ตัวอย่างภาพยนตร์

เรื่อวย่อ ดูหนัง ออนไลน์ Midway เต็มเรื่อง

หนังสงครามย้อนยุค ทั้งเรื่องราวและการเล่าเรื่องของโรแลนด์ เอ็มเมอริชMIDWAY: ว่ากันว่าเป็นโปรเจ็คท์ในฝันของโรแลนด์ เอ็มเมอริชตั้งแต่ยุค ‘90s หากโดนทางโซนีเบรคเนื่องจากทุนสร้างมหาศาลระดับร้อยล้านเหรียญ (ซึ่งในยุคนั้นถือว่ามโหฬารมาก) เจ้าตัวเลยต้องเก็บเข้ากรุ ไปทำ The Patriot หนังเมล กิบสันแสดงนำ ที่กลายเป็นงานแจ้งเกิดฮีธ เล็ดเจอร์ในฐานะนักแสดงคุณภาพ หลังเป็นขวัญใจสาวๆ

มาแล้วจาก 10 Things I Hate About Youหลายคนอาจจะกำลังคิดว่ามันใช่เรื่องเดียวกับ Midway หรือ ยุทธภูมิมิดเวย์ ตอนเข้าฉายบ้านเรา ซึ่งเป็นหนังรวมดาวไม่แพ้หนังเรื่องนี้ที่สร้างขึ้นตอนปี 1976 หรือเปล่า คำตอบก็คือคนละเรื่องเดียวกัน ด้วยความที่หนังทั้งสองเรื่องมีเหตุการณ์จริงคือ การศึกที่มิดเวย์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นพื้นฐานเหมือนกัน ตัวละครหลายๆ รายที่มีตัวตนจริงๆ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น

นายพลเชสเตอร์ นิมิทซ์, เวด แม็คคลูสกี, จิมมี ดูลิทเทิล, ผู้บัญชาการกองเรือ – วิลเลียม ฮัลซีย์, นักถอดรหัส – โจเซฟ รอชฟอร์ด รวมไปถึงผู้บัญชาการกองเรือ เรย์มอนด์ สปรูนซ์, นายพลยามาโมโต ต่างก็มีบทบาทในหนังทั้งสองเรื่อง แต่กับการเล่าเรื่องแล้ว หนังของผู้กำกับแจ็ค สไมท์ มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครสมมติ ซึ่งผิดจากงานของเอ็มเมอริชที่ตัวละครแกนหลัก คือตัวละครที่มีอยู่จริง แล้วก็เสริมด้วยตัวละครเล็กๆ ที่อาจไม่มีตัวตนจริงๆ อีกหลายราย เพื่อทำให้หนังมีการเร้าอารมณ์มากขึ้นพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นหนังที่พูดถึงเหตุการณ์เดียวกันแต่ต่างมุมมองและคนละรายละเอียดในการเล่าเรื่อง ซึ่งก็คล้ายๆ กับ Pearl Harbor ที่ฉบับใครก็ฉบับมัน แต่แบ็คกราวนด์หลักของหนังก็คือ การโจมตีกองทัพเรืออเมริกันโดยกองทัพญี่ปุ่นนั่นเอง

แต่ถึงจะวางตัวละครมากระตุ้นอารมณ์ของผู้ชม โดยเฉพาะในเรื่องของการเสียสละ ความผูกพัน ทั้งหลาย Midway ก็ไม่ต่างไปจากหนังเรื่องอื่นๆ ของเอ็มเมอริชที่ไม่สามารถลงลึกในระดับที่ทำให้ซาบซึ้งหรือประทับใจได้สักเท่าไหร่ แล้วก็ยังมีลักษณะของสูตรสำเร็จเช่นเดียวกับหนังเรื่องก่อนๆ หน้า หากที่แย่ยิ่งกว่าก็คือ ด้วยรายละเอียดต่างๆ ที่หนังใส่เข้ามาตลอดความยาวถึงสองชั่วโมงยี่สิบนาที บทของเวส ทูเคไม่สามารถปั้นอารมณ์ให้รู้สึกฮึกเหิมขึ้นมา ในระดับเดียวกับคำพูดปลุกใจก่อนไปรบกับมนุษย์ต่างดาวของบิลล์ พูลล์แมนใน Independence Day ได้เลย

มองกันสองมุมถึงสาเหตุที่ทำให้เป็นแบบนี้ มุมแรกคงไม่พ้น ศักยภาพของคนทำงานไม่ถึง ส่วนมุมที่สองก็คงเพราะหนังมีเรื่องที่อยากจะเล่าเยอะเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาสร้างความผูกพันทั้งระหว่างตัวละครด้วยกัน และระหว่างตัวละครกับผู้ชม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ฉากชุมนุมบรรดาแม่บ้านทหารเรือ ที่ไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกอะไรเลย นอกจากรับรู้ว่าบรรดานางๆ ล้วนเป็นห่วงสามีที่อยู่แนวหน้า แต่ไม่สามารถสร้างความสะเทือนใจไปกับพวกเธอได้เลยจริงๆ

หากมองในแง่ดี ก็คงไม่พ้นอย่างหลัง หนังมีสารพัดเรื่องราวให้เล่าเยอะเกินไปจริงๆ เอ็มเมอริชและทูเค ไม่เลือกที่จะเน้นเหตุการณ์ใดเหตุการณ์ให้เป็นเรื่องเป็นราวอย่างจริงๆ จังๆ ส่งผลให้หนังนอกจากจะทำได้ไม่ดีในแง่ของการเร้าอารมณ์ ก็ยังสอบไม่ผ่านสำหรับการลงลึกถึงเหตุการณ์ ด้วยความที่หนังพยายามเก็บสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมานำเสนอให้หมดหรืออย่างน้อย… มากที่สุด

สถานการณ์ทุกอย่างที่เคยรับรู้ รับทราบมาก่อนหน้าจากการอ่าน จึงเป็นได้เพียงการแตะแล้วก็ผ่านไป คล้ายๆ การเอาหัวข้อเรื่องมาทำเป็นภาพให้ปรากฏ โดยปราศจากทั้งความเป็นมาและเป็นไป มีเหตุการณ์ที่ละไว้ ในฐานที่เข้าใจ หรือ ในฐานที่ไม่ต้องเข้าใจ เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของดูลิทเทิล, แผนบุกทะเลคอรัลของญี่ปุ่น, กองถ่ายหนังบนเกาะมิดเวย์, กระทั่งแผนโจมตีของญี่ปุ่น รวมถึงการถอดรหัสของหน่วยข่าวกรองกองทัพเรือ ที่สามารถเอามาใช้ประโยชน์สร้างความเข้มข้นให้กับเรื่องราวได้ ก็ถูกนำเสนอแบบผิวๆ

ไม่แปลกที่จะรู้สึกว่า นี่คืองานที่บางเบาในเนื้อหา ปราศจากความจริงจัง หนักแน่นบรรดานักแสดงที่ขนกันมามากมาย ในแบบหนังรวมดาว ส่วนใหญ่ไม่น่าจะได้เครดิทเพิ่มเติมจากบทที่เล่นสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้มีอะไรให้เล่นมากนัก แต่อย่างน้อยกับนักแสดงบางคน ก็เติมความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละครที่ตัวเองรับบทได้ ไม่ใช่ตัวละครที่แบนทั้งปูมหลังทั้งการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็น วูดี ฮาร์เรลสัน, แพทริค วิลสัน หรือ ลูค อีแวนส์ กับ เดนนิส เควด

หากบางคนอย่าง เอ็ด สไครน์ ที่ถือว่าได้บทเป็นเนื้อเป็นหนังไม่น้อย ก็ฉวยโอกาสไว้ได้ในระดับมากพอจะทำให้เห็นเสน่ห์บางอย่างในตัว และโดดเด่นออกมาจากงานที่ดูแบนๆ เรื่องนี้อยู่บ้าง หลังเป็นตัวร้าย ตัวประกอบอดทนในหนังหลายต่อหลายเรื่องมาก่อนหน้า และนับจากนี้อาจจะถึงเวลาที่เขาควรได้รับบทที่เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น หลังแจ้งเกิดใน The Transporter Refueled ตั้งแต่ปี 2015 Midway ของเอ็มเมอริช อาจจะดูไม่ต่างไปจากหนังบันทึกเหตุการณ์อีกเรื่องหนึ่ง

แต่กับการเล่าเรื่องที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีฉากแอ็คชันแทรก และวางปมเรื่องได้ดีเป็นระยะๆ ก็ช่วยให้หนังไม่ถึงกับน่าเบื่อ โดยเฉพาะคอหนังสงคราม ที่ห่างเหินงานในสไตล์เก่าๆ แบบนี้มาพักใหญ่ Midway จะดึงภาพและความรู้สึกที่หายไปนานกลับมา แน่นอนว่าอาจจะดูเชยๆ อยู่บ้าง แต่ก็ทำให้รู้สึกบางอย่างจากภาพการต่อสู้ทางทหารในอดีตที่มีความเป็นลูกผู้ชาย หรือใช้ศักยภาพ ความสามารถ ความกล้าหาญ

ที่น่าจะมากกว่าในยุคนี้ที่ไม่ต่างไปจากสงครามกดปุ่ม ตั้งแต่การถอดรหัส ตีความข้อความต่างๆ การทำหน้าที่ของหน่วยบินทิ้งระเบิด ที่ต้องกล้าหาญและบ้าบิ่น เพื่อนำระเบิดไปหย่อนยังจุดหมายโดยไม่พลาดเป้าด้วยตัวเอง ไม่ใช่นั่งบังคับโดรนอยู่ในห้องควบคุมที่ไหนก็ไม่รู้ หรือทิ้งระเบิดซึ่งตั้งโปรแกรมไว้เรียบร้อยให้พุ่งไปหาเป้าหมายแล้วหนังซึ่งทุนสร้างหลักเป็นของอเมริกันกับจีน ก็ไม่ได้ป้ายสีให้ฝ่ายญี่ปุ่นเป็นพวกใจทมิฬหินชาติจนเกินไป พวกเขามีความเป็นมนุษย์ปุถุชนในตัว รักศักดิ์ศรี เกียรติยศและหน้าที่ แม้จะไม่ถึงกับมีความสมดุลย์กับตัวละครฝ่ายอเมริกัน หากก็ไม่ใช่ตัวละครที่ไร้มิติโดยสิ้นเชิงอย่างที่เคยเป็นในอดีต

บางทีหากหนังสามารถสร้างสมดุลย์ให้กับเรื่องที่ตัวเองเล่า ได้แค่พอๆ ที่ทำกับตัวละครฝ่ายอเมริกันและญี่ปุ่น ก็น่าจะเป็นงานที่คนดูให้ใจและได้ใจผู้ชมมากกว่านี้อเมริกาถล่มญี่ปุ่นจากวีรกรรมแห่งหน้าประวัติศาสตร์ ที่งานนี้จะบอกเล่าถึงเรื่องราวของ “ยุทธการมิดเวย์” ซึ่งว่ากันว่าเป็น ยุทธการที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก

ของช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการปะทะกันแบบ 360 องศาของกองทัพสหรัฐอเมริกาที่กินเวลาเพียง 4 วันแต่กลับเป็นจุดเปลี่ยนเกมรบของสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปตลอดกาลยุทธภูมิ มิดเวย์ hd พากย์ไทย เต็มเรื่อง : ในปี 2480 ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย สหรัฐอเมริกา ยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นถอนทหาร และในระหว่างการต่อรอง ได้ตัดเส้นทางลำเลียงยุทธภัณฑ์สำคัญที่ญี่ปุ่นจะขาดไม่ได้เลย นั่นคือ น้ำมันดิบและถ่านหิน ….ปี 2484 การเจรจาระหว่างทูตญี่ปุ่นและรัฐบาลสหรัฐที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นไปอย่างตึงเครียดและส่อเค้าว่าจะล้มเหลว เพียงครึ่งชั่วโมงให้หลัง หลังจากที่ทูตญี่ปุ่นจากไป

การโจมตี Pearl Harbor จึงได้เริ่มขึ้น …เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 7 ธ.ค. 2484 ในบริเวณฐานทัพเรือ Pearl Harbor ก่อน 8 โมงเช้าไม่นาน เครื่องบินลำแรกปรากฏเหนือน่านฟ้าบริเวณฐานทัพเรือ เพียงอึดใจเดียวเครื่องบินมาเต็มท้องฟ้า ที่ด้านข้างของเครื่องบิน เป็นรูปดวงอาทิตย์สีแดง สัญญลักษณ์ของทหารจักรพรรดิ

เสียงหวีดหวิวของลูกระเบิดแหวกอากาศและดังตูมขึ้น ปลุกให้ผู้คนตื่นจากภวังค์ เครื่องบินลำสุดท้ายของญี่ปุ่นจากไปก่อนเที่ยง ภายใน 3 ชั่วโมงของการบุกสายฟ้าแลบ สหรัฐสูญเสีย เรือรบ 12 ลำ เครื่องบิน 188 ลำ ทหาร 2 , 403 นาย และพลเรือนอีก 68 คน มีเรือรบ 3 ลำที่แล่นหนีออกทะเลเปิดได้ทัน พ้นจากการโจมตี สิ่งที่ญี่ปุ่นได้ทำผิดพลาดคือไม่ได้โจมตีถังเก็บสำรองน้ำมัน (tank farm) ทำให้สหรัฐไม่ถึงกับหมดเนื้อหมดตัวทีเดียว ยังพอเสริมเขี้ยวเล็บ …

ดูหนัง Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์

เหตุการณ์เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 7 ธ.ค. 2484 คือสาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกา

ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และเข้าร่วมวงไพบูลย์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเต็มตัว เกิดการรบครั้งใหม่ได้ในเวลาต่อมาที่ “เกาะมิดเวย์” – ยุทธภูมิมิดเวย์เริ่มขึ้น เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีเกาะปะการังวงแหวนมิดเวย์ นายพลเรือเอก ยามาโมโต้ จึงได้เสนอแผนการบุก ฐานทัพเรืออเมริกันที่เกาะมิดเวย์ เพื่อหวังจะทำลายกองเรือสหรัฐฯ อีกครั้ง เป้าหมายคือทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ แผนการนี้จะใช้กำลังส่วนหนึ่งโจมตี เกาะอลูเชียน

เพื่อล่อหลอกให้กำลังหลักของทัพเรืออเมริกันโดยเฉพาะเรือบรรทุกเครื่องบิน ออกมาติดกับ แล้วใช้กำลังหลักเข้าโจมตีเกาะมิดเวย์ แต่ปัญหาคือทางกองทัพเรือสหรัฐฯ สามารถถอดรหัสที่ญี่ปุ่นใช้ ทำให้ทราบล่วงหน้าว่าเป้าหมายที่แท้จริงของญี่ปุ่นคือ มิดเวย์ ผลของยุทธนาวีครั้งนี้ได้กลายเป็นจุดพลิกกลับ ของ สงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้สหร้ฐกลับเป็นฝ่ายตีโต้จนได้รับชัยชนะไปในที่สุดยุทธการมิดเวย์ (Battle of Midway) เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 เป็นสมรภูมิสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น เป็นสงครามชี้ชะตาครั้งสำคัญ ซึ่งต่างฝ่ายต่างต้องการชัยชนะเพื่อสร้างความได้เปรียบในสงครามโลกครั้งที่ 2 สมรภูมิแห่งนี้จึงนับว่าเป็นสมรภูมิที่มีผู้กล่าวถึงไม่น้อยไปกว่ายุทธการที่อ่าวเพิร์ล ยุทธการที่ดันเคิร์ก หรือยุทธการที่นอร์มังดี

หลังญี่ปุ่นเปิดฉากสงครามด้วยการบุกถล่มสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 แม้สามารถสร้างความเสียหายให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกา แต่ทำได้เพียงตัดกำลังบางส่วนเท่านั้น อู่ต่อเรือแห้งยังคงใช้งานได้อยู่ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่สามารถต่อกรกับกองทัพญี่ปุ่นได้ยังมีอีกพอสมควร โดยเฉพาะเรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่ถูกทำลายลงอย่างที่ญี่ปุ่นมุ่งหวังไว้ เนื่องจากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาออกไปปฏิบัติภารกิจที่

ไม่นานจากนั้น กองทัพญี่ปุ่นบุกตะลุยทั่วทั้งเอเชีย พิชิตฮ่องกง อินโดจีน มลายู สิงคโปร์ พม่า ราวเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 ได้บุกไปถึงเกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์ เกาะโซโลมอน และตั้งฐานที่มั่นที่นิวกินีโดยมีเป้าหมายในการยึดออสเตรเลีย แม้จะแผ่อิทธิพลเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างรวดเร็ว แต่ญี่ปุ่นทราบดีว่าจะต้องดำเนินยุทธการโจมตีสหรัฐอเมริกาเพื่อครองอำนาจเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกไว้อย่างเบ็ดเสร็จเพียงผู้เดียว ดังนั้น ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเอาชนะกองทัพเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาให้ได้ เป้าหมายจึงพุ่งไปที่เกาะมิดเวย์

ก่อนที่จะเข้าสู่การศึกการสงคราม จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องราวก่อนหน้าจะเกิด ยุทธการมิดเวย์ โดยเฉพาะสงครามแก้แค้นจากสหรัฐอเมริกา และการถอดรหัสลับของญี่ปุ่นไขความลับรหัสม่วงราว ค.ศ. 1937 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะปะทุขึ้น ญี่ปุ่นได้ผลิตเครื่องเข้ารหัสที่อาศัยหลักการการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องอินิกมาของเยอรมนี เครื่องนี้มีชื่อว่า “97 ชิกิ โอบุน อินจิกิ” แปลว่า

เครื่องพิมพ์ตัวอักษร 97 (ตัวเลข 97 มาจากปีศักราชที่ 2597 ของญี่ปุ่น) ซึ่งญี่ปุ่นมั่นใจว่าเครื่องเข้ารหัสนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องอินิกมาและไม่มีชาติใดถอดรหัสได้สหรัฐอเมริกาพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะถอดรหัสลับของญี่ปุ่นตลอดทศวรรษที่ 1930 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 ค.ศ. 1937 ซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ผงาดขึ้นเหนือเอเชียได้สร้างความตื่นตัวต่อสหรัฐอเมริกาว่าญี่ปุ่นอาจเป็นภัยคุกคามที่สำคัญในมหาสมุทรแปซิฟิก

ภายใต้การทำงานของแผนกข่าวกรองอาณัติสัญญาณ (SIS) โดยวิลเลียม ฟรีดแมน (William F. Friedman) เขาและทีมพยายามอย่างหนักในการถอดรหัสลับนี้ พวกเขาถอด “รหัสแดง” ของญี่ปุ่นสำเร็จในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 แต่รหัสแดงเป็นเพียงการสื่อสารทางการทูตเท่านั้น ญี่ปุ่นได้คิดค้น “รหัสม่วง” อันมีที่มาจากสีของแฟ้มเอกสารรวบรวมการถอดรหัสรุ่นดังกล่าวโดยเฉพาะ ฟรีดแมนและทีมงานต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน กระทั่งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 จึงสามารถถอดรหัสม่วงได้สำเร็จ

เยอรมนีสงสัยว่าสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสม่วงได้ แต่ญี่ปุ่นไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ พวกเขายังคงส่งข่าวสารโดยใช้การเข้ารหัสลับเช่นนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าเมื่อสหรัฐอเมริกาถอดรหัสลับได้แล้ว เหตุไฉนจึงปล่อยให้มีการโจมตีที่อ่าวเพิร์ล?นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่า ดูหนังออนไลน์ ชัด สหรัฐอเมริกาล่วงรู้ยุทธการโจมตีอ่าวเพิร์ลเป็นอย่างดี แต่จงใจละเลยเพื่อหาเหตุผลในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าแนวความคิดดังกล่าวเป็นทฤษฎีสมคบคิดมากกว่า เพราะกองทัพสหรัฐอเมริกาได้คาดการณ์ว่าจะมีการโจมตีขึ้นจริง แต่เข้าใจว่าจะเกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีฐานทัพของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง ที่อาจคุกคามกองทัพญี่ปุ่นมากกว่าที่อ่าวเพิร์ล

การโจมตีของดูลิตเติลเมื่อสหรัฐอเมริกาเผชิญกับการสูญเสียความเชื่อมั่นและศรัทธาจากเหตุการณ์โจมตีที่อ่าวเพิร์ล ประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) จึงเรียกประชุมกองทัพเพื่อดำเนินยุทธการตอบโต้ใด ๆ ก็ตามที่สามารถลดความอหังการของญี่ปุ่นลง และจะเป็นการเรียกความเชื่อมั่นต่อกองทัพและชาวอเมริกันกลับคืนมา โดยได้ นาวาอากาศโท เจมส์ ดูลิตเติล (James H. Doolittle) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินวัย 45 ปี ที่เคยผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว มาเป็นผู้นำในยุทธการนี้

นาวาอากาศโท ดูลิตเติลตั้งวัตถุประสงค์ของยุทธการนี้ว่า จะต้องทำลายศูนย์กลางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ในเมืองใหญ่อย่าง โตเกียว โอซากา โกเบ และนาโงยา ด้วยการโจมตีทางอากาศ แผนการคือ ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น B-15 ที่ถูกดัดแปลงให้บินได้นานขึ้นกว่าปกติ บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินที่ลอยลำเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก จากนั้นมุ่งหน้าสู่ญี่ปุ่น เมื่อปฏิบัติภารกิจสำเร็จแล้วจะไม่บ่ายหน้ากลับทางเดิม แต่จะบินต่อไปทางตะวันตกเรื่อย ๆ และมาลงจอดที่ฐานทัพอากาศของจีน

นาวาอากาศโท ดูลิตเติลติดต่อไปยังกองบินทิ้งระเบิดที่ 17 ในรัฐโอเรกอนเพื่อถามหาอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมยุทธการนี้ ทหารกว่า 150 คน ทั้งนักบิน เจ้าหน้าที่นำร่อง พลปืน วิศวกรการบิน ฯลฯ ล้วนอาสาเข้าร่วมโดยที่พวกเขาไม่ทราบข้อมูลแม้แต่น้อยว่าจะต้องไปปฏิบัติภารกิจใด แม้ภายหลังนาวาอากาศโท ดูลิตเติลจะแจ้งภารกิจให้ทุกคนทราบว่าอาจเป็นยุทธการที่ไม่อาจรอดชีวิตกลับมาได้ แต่ทุกคนยังยืนยันที่จะเข้าร่วมด้วยความแน่วแน่ พวกเขาฝึกซ้อมและทดสอบการบินตลอดในช่วงต้น ค.ศ. 1942

ยุทธการนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1942 เมื่อเรือบรรทุกเครื่องบินฮอร์เน็ต (USS Hornet) พร้อมเรือคุ้มกัน เดินทางออกจากแคลิฟอร์เนีย ก่อนจะไปสมทบกับเรือบรรทุกเครื่องบินเอนเทอร์ไพรซ์ (USS Enterprise) และเรืออื่น ๆ รวมแล้วกองเรือนี้มีเรือทั้งหมด 18 ลำ จากนั้นจึงเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมุ่งหน้าไปญี่ปุ่น

ไม่นานจากนั้น กองเรือญี่ปุ่นตรวจพบกองเรือสหรัฐอเมริกา แม้จะจมเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นได้ แต่ก็ไม่อาจสกัดกั้นสัญญาณเตือนที่ส่งกลับไปกรุงโตเกียว กองทัพสหรัฐอเมริกาจึงต้องรีบดำเนินยุทธการนี้ทันที แม้ตำแหน่งที่อยู่ ณ ตอนนั้นจะอยู่ห่างจากจุดที่วางแผนไว้กว่า 400 ไมล์ก็ตามแม้จะมีความกังวลเรื่องระยะทางการบินที่ต้องบินไกลมากกว่าเดิม และปัญหาเชื้อเพลิงว่าจะเพียงพอหรือไม่

แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น B-15 ทั้ง 16 ลำก็บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินฮอร์เน็ต ด้วยเพดานบิน 15 เมตรเหนือมหาสมุทร เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับด้วยเรดาห์ ฝูงบินบินด้วยความเร็ว 150 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง เครื่องบินทิ้งระเบิด 10 ลำมุ่งสู่กรุงโตเกียว 3 ลำมุ่งโจมตีคานางาวะ โยโกฮามา และโยโกสุกะ อีก 3 ลำมุ่งโจมตีนาโงยาและโอซากา

กระทั่งเวลาเที่ยงในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1942 จึงเริ่มยุทธการ “Doolittle Raid” เครื่องบินทิ้งระเบิดที่นำโดยนาวาอากาศโท ดูลิตเติลโจมตีกรุงโตเกียว ยุทธการครั้งนี้สร้างความเสียหายได้ไม่มากนัก ประเมินว่าโรงงานผลิตอาวุธ เครื่องบิน ท่าเรือ คลังน้ำมัน คลังแสง ได้รับความเสียหาย มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตราว 300 คน อาคารเสียหายไม่ถึง 100 อาคาร เพราะเครื่องบินทิ้งระเบิดแต่ละลำบรรทุกระเบิดขนาด 500 ปอนด์ (227 กิโลกรัม) ได้เพียง 4 ลูกเท่านั้น

แต่ยุทธการครั้งนี้กลับสร้างจิตวิทยาการสงครามต่อสองฝ่าย สหรัฐอเมริกาได้เรียกความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง ขณะที่ญี่ปุ่นเผชิญความเจ็บแค้นเนื่องจากระบบป้องกันของพวกเขาไม่สามารถจัดการเครื่องบินทิ้งระเบิดใดได้เลย ทั้ง ๆ ที่เป็นการโจมตีกลางวันแสก ๆ เสียด้วยซ้ำเครื่องบินทิ้งระเบิด 15 ลำบินสู่จีนอย่างปลอดภัย โชคไม่ดีที่เครื่องบินทิ้งระเบิดหมายเลข 16 ต้องร่อนลงในเขตแดนของญี่ปุ่น ก่อนที่ทหารทั้งหมดจะถูกจับเป็นเชลย พวกเขาถูกทารุณกรรมนานหลายเดือน และมีทหาร 3 นายถูกประหารชีวิต

ญี่ปุ่นวางแผนตอบโต้หลังยุทธการดูลิตเติล ญี่ปุ่นรู้สึกถูกหยามเพราะพวกเขามั่นใจว่าจะไม่มีภัยสงครามย่างกรายเข้าสู่เกาะญี่ปุ่นอันเป็นมาตุภูมิ นั่นทำให้พวกเขายิ่งตระหนักถึงขีดความสามารถในการควบคุมมหาสมุทรแปซิฟิกว่ายังคงอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในซีกตะวันตกเท่านั้น และยิ่งจำกัดไปอีกหากไม่ทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา ที่สามารถขยายขอบเขตการสงครามทางยุทธนาวีและยุทธเวหาได้กว้างไกลมากขึ้น อย่างที่ยุทธการดูลิตเติลประสบผลสำเร็จมาแล้ว

พลเรือเอก อิโซโรคุ ยามาโมะโตะ (Isaroku Yamamoto) ผู้บัญชาการกองทัพเรือญี่ปุ่น จึงวางแผนที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์โจมตีเกาะญี่ปุ่นขึ้นอีก เขามุ่งเป้าหมายสำคัญไปที่เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นจึงโจมตีสหรัฐอเมริกาในยุทธการที่ทะเลคอรัล (Coral Sea) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 แม้ญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้และต้องล่าถอยกลับไปยังนิวกินี แต่พลเรือเอก ยามาโมะโตะยังคงมั่นใจในความเหนือกว่าของกองทัพญี่ปุ่น ทั้งยุทโธปกรณ์ที่มีจำนวนมากกว่า และข้อได้เปรียบด้านประสบการณ์ทางการทหารของญี่ปุ่นที่มีมากกว่า ในยุทธการที่ทะเลคอรัล ญี่ปุ่นเชื่อว่าเรือบรรทุกเครื่องบินยอร์กทาวน์ (USS Yorktown)

ของสหรัฐอเมริกาจะได้รับความเสียหายอย่างหนักและอาจจมลงแต่หารู้ไม่ว่าเรือบรรทุกเครื่องบินยอร์กทาวน์กลับเข้าอู่ต่อเรือแห้ง (ที่ไม่ถูกทำลายในยุทธการอ่าวเพิร์ลเมื่อปีก่อน) ที่ฐานทัพเรือในอ่าวเพิร์ล และได้รับการซ่อมแซมอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น ทั้งที่เรือได้รับความเสียหายรุนแรง และในเบื้องต้นได้ประเมินการว่าอาจซ่อมนานถึง 3 เดือนเสียด้วยซ้ำเป้าหมายต่อไปของพลเรือเอก ยามาโมะโตะคือเกาะมิดเวย์ เกาะที่เกิดจากแนวปะการัง อยู่ห่างจากหมู่เกาะฮาวายไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 1,800 กิโลเมตร แผนการที่ ยุทธการมิดเวย์ คือ ญี่ปุ่นแบ่งกองทัพออกเป็น 2 ส่วนกองทัพส่วนที่ 1 เป็นกองทัพลวง ทำการโจมตีหมู่เกาะอลูเชียน (Aleutians) ที่ตั้งอยู่ใกล้กับอลาสกา เพื่อล่อให้กองทัพสหรัฐแบ่งกำลังออกจากเกาะมิดเวย์หรือเกาะฮาวาย

ดูหนัง Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์

กองทัพส่วนที่ 2 เป็นกองทัพหลัก

ประกอบด้วยกองเรือย่อย 3 กองคือ กองเรือหลักซึ่งมีเรือบรรทุกเครื่องบินภายใต้การบังคับบัญชาการของพลเรือโท ชุอิชิ นากุโมะ (Chuishi Nagumo) ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินทั้ง 4 ลำคือ อะคากิ (Akagi), คากะ (Kaga), ฮิริว (Hiryu) และ โซริว (Soryu)กองเรือถัดมาคือกองเรือประจัญบานของพลเรือเอก ยามาโมะโตะที่อยู่หลังกองเรือหลัก ห่างออกไปราว 600 ไมล์ และกองเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกโดยการบังคับบัญชาการของพลเรือโท โนบุตาเคะ คอนโดะ (Nobutake Kondo)

แผนการคือ กองทัพญี่ปุ่นจะส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีเกาะมิดเวย์เพื่อล่อกองเรือสหรัฐอเมริกาออกมาจากเกาะฮาวาย จากนั้นจะอาศัยทั้งการโจมตีด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดหรือตอปิโดจากกองเรือบรรทุกเครื่องบินของพลเรือโท นากุโมะ กับอานุภาพจากกองเรือประจัญบานของพลเรือเอก

ยามาโมะโตะที่สามารถยิงปืนใหญ่ได้ไกลเกินเส้นขอบฟ้า เมื่อนั้นจะถล่มกองเรือสหรัฐอเมริกาให้จมลงสู่มหาสมุทร แล้วจะยกพลขึ้นบกยึดเกาะมิดเวย์ ใช้ที่นี่เป็นฐานที่มั่นก่อนจะยึดเกาะฮาวายต่อไปกองเรือสหรัฐอเมริกาที่ว่านี้ คือกองเรือที่ 7 ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน 8 ลำ เรือประจัญบาน 11 ลำ เรือลาดตระเวน 23 ลำ และเรือพิฆาต 65 ลำ และยังมีเครื่องบินรบทั้งขับไล่และทิ้งระเบิดอีกจำนวนมาก

การโจมตีเกาะมิดเวย์นอกจากจะมีผลสำคัญต่อการทหารแล้ว ยังมีผลต่อภาพรวมของทั้งสงครามระหว่างสองชาติ ญี่ปุ่นทราบดีว่าไม่อาจสู้รบยืดเยื้อกับสหรัฐอเมริกาได้ ดังเห็นได้ว่า เพียงไม่กี่เดือนให้หลังจากยุทธการอ่าวเพิร์ล สหรัฐอเมริกาสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วด้วยระบบอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นไม่อาจเทียบได้ จนสามารถเอาคืนญี่ปุ่นในยุทธการดูลิตเติล และสามารถต่อเรือหลายประเภทหลายขนาดอย่างรวดเร็วญี่ปุ่นจึงหวังว่า การยึดเกาะมิดเวย์ รวมถึงเกาะฮาวาย และทำลายกองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาได้นั้นจะช่วยให้ญี่ปุ่นถือไพ่เหนือกว่า เพื่อบีบให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่การเจรจาสันติภาพ

วางแผนรับมือรับมือหลังจากฟรีดแมนประสบผลสำเร็จในการถอดรหัสม่วง กองทัพสหรัฐอเมริกาจึงนำทีมของเขาและทีมถอดรหัสของกองทัพเรือที่นำโดย โจเซฟ โรชฟอร์ท (Joseph John Rochefort) มาทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถอดรหัสลับของญี่ปุ่น ดูหนังออนไลน์ 4k พากย์ไทย รหัสลับหนึ่งที่ล่วงรู้แผนการว่า ญี่ปุ่นจะโจมตี “AF” แม้จะประเมินว่าอาจเป็นเกาะมิดเวย์ แต่เพื่อความมั่นใจจึงวางอุบายส่งข้อความปลอมออกไปว่า เกาะมิดเวย์มีปัญหาเรื่องกลั่นน้ำและขาดแคลนน้ำจืด ไม่นานญี่ปุ่นส่งข้อความในลักษณะคล้ายกัน โดยอ้างถึงคำว่า “AF” ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงมั่นใจว่า “AF” หมายถึงเกาะมิดเวย์อย่างแน่นอน

เนื่องจากกองเรือญี่ปุ่นตั้งอยู่กระจัดกระจาย พลเรือเอก ยามาโมะโตะ

จึงต้องติดต่อสื่อสารและวางแผนการรบผ่านสัญญาณวิทยุ ซึ่งฐานปฏิบัติการถอดรหัสของกองทัพสหรัฐอเมริกาในฮาวายสามารถตรวจจับและถอดรหัสได้ พลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตซ์ (Chester W. Nimitz) ผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคพื้นแปซิฟิกจึงได้ข้อมูลและยุทธวิธีของญี่ปุ่นมาไว้ในกำมือ ทำให้เขาสามารถวางแผนรับมือการโจมตีได้อย่างรัดกุม

วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 พลเรือเอก นิมิตซ์เดินทางมายังเกาะมิดเวย์เพื่อตรวจสอบระบบป้องกันที่นั่น แม้จะไม่ได้แจ้งให้ทหารกว่า 3,600 นายทราบถึงยุทธการที่กำลังจะมาถึงก็ตาม แต่ต่อมาในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 พลเรือเอก นิมิตซ์ได้แจ้งต่อทหารระดับผู้บังคับบัญชาที่เกาะมิดเวย์ให้เตรียมพร้อมรับมือการโจมตีเกาะมิดเวย์ภายใน 8 วัน โดยอธิบายและชี้แจงรูปแบบการโจมตีอย่างละเอียด กระทั่งอีก 2-3 วันต่อมามีการแจ้งเลื่อนการโจมตีออกไปว่าอาจเป็นช่วงระหว่างวันที่ 3-5 มิถุนายน ค.ศ. 1942

พลเรือเอก นิมิตซ์ไม่ได้วางแผนตั้งรับแต่เพียงอย่างเดียว เขาทราบดีว่ากองทัพสหรัฐอเมริกามีข้อด้อยหลายประการ ที่เกาะมิดเวย์เองก็มีระบบป้องกันที่ไม่มีคุณภาพมากพอ ระบบเรดาห์ยังล้าสมัย ไม่แม่นยำ ระบบป้องกันและเครื่องบินรบก็ไม่ได้สมบูรณ์ ดังนั้น แผนตั้งรับเพื่อรุกกลับจึงสำคัญต่อกองทัพสหรัฐอเมริกามาก เขาพุ่งเป้าไปที่เรือบรรทุกเครื่องบินของญี่ปุ่น การโจมตีใด ๆ อย่างน้อยจะต้องสร้างความเสียหายต่อดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน

ให้ได้พลเรือเอก นิมิตซ์ส่งกำลังทหารบางส่วนไปเกาะอลูเชียน เพราะรู้ว่าการโจมตีที่นั่นเป็นกลลวง กองกำลังหลักจึงแบ่งกองเรือออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือกองเรือรบที่ 16 ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินฮอร์เน็ตกับเอนเทอร์ไพร์ซ เรือลาดตระเวน 6 ลำ เรือพิฆาต 9 ลำส่วนที่สองคือกองเรือรบที่ 17 ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินยอร์กทาวน์ เรือลาดตระเวน 2 ลำ เรือพิฆาต 5 ลำ ภายใต้การบัญชาการของพลเรือโท แฟรงก์ เฟลตเชอร์ (Frank Jack Fletcher)

สู่ยุทธการมิดเวย์ ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นโจมตีหมู่เกาะอลูเชียน ตามแผนการที่วางไว้ กองทัพสหรัฐอเมริกาจึงเริ่ม ยุทธการมิดเวย์ ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดบินขึ้นจากสนามบินบนเกาะมิดเวย์โจมตีกองเรือของพลเรือโท คอนโดะ ซึ่งสหรัฐอเมริกาเข้าใจว่าเป็นกองเรือหลัก แต่การโจมตีครั้งนี้ไม่สำเร็จ ขณะที่กองเรือส่วนหน้าของทั้งสองชาติคือเรือดำน้ำ จะทำหน้าที่หลักคือสืบหาตำแหน่งและจมเรือศัตรูเมื่อมีโอกาส แต่จะไม่ปะทะโดยตรงเพราะเป็นการเผยตำแหน่งและอาจถูกทำลายเสียก่อน

ก่อนรุ่งสางในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1942 พลเรือโท นากุโมะได้เปิดฉากการโจมตี โดยให้เครื่องบินรบกว่า 100 ลำ จากเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งสี่ลำโจมตีเกาะมิดเวย์ เมื่อฝูงบินเข้าถึงระยะเรดาห์บนเกาะมิดเวย์ กองทัพสหรัฐอเมริกาจึงส่งฝูงบินจากเกาะมิดเวย์ไปโจมตีกองเรือหลักของญี่ปุ่นเช่นกัน

การโจมตีของญี่ปุ่นสิ้นสุดลงเวลาประมาณ 07.00 น. แต่กองทัพญี่ปุ่นไม่สามารถสร้างความเสียหายได้มากนัก สนามบินและระบบป้องกันบนเกาะมิดเวย์ยังคงใช้งานได้อยู่ ขณะที่ฝูงบินสหรัฐอเมริกาไม่สามารถสร้างความเสียหายใด ๆ ต่อกองเรือญี่ปุ่นได้เลย และสูญเสียเครื่องบินไปจำนวนมาก

ราว 8.30 น. เครื่องบินสอดแนมของกองทัพญี่ปุ่นตรวจพบกองเรือกองหนึ่งด้านตะวันออกของเกาะมิดเวย์ และพบเรือบรรทุกเครื่องบินลำหนึ่งในกองเรือนั้น พลเรือโท นากุโมะซึ่งไม่ระแคะระคายว่ามีกองเรือสหรัฐอเมริกากำลังเคลื่อนตัวเข้ามาทำให้เขาสับสน เพราะตามแผนการที่ญี่ปุ่นคาดไว้คือกองเรือสหรัฐอเมริกาควรจะอยู่ที่เกาะฮาวาย และควรต้องเดินทางมาถึงในวันพรุ่งนี้ ไม่ใช่อยู่ในช่วงเวลาที่เขากำลังโจมตีเกาะมิดเวย์ในขณะนี้

เขาละล้าละลังอย่างยิ่งว่าจำดำเนินแผนการใด ณ ขณะนั้นมีความเสี่ยงมากว่า ระหว่างที่เครื่องบินรบของญี่ปุ่นกำลังเติมอาวุธและเชื้อเพลิง เครื่องบินรบของสหรัฐอเมริกาอาจโจมตีกลับ ซึ่งลานบินและส่วนเก็บเครื่องบินของเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นเต็มไปด้วยระเบิดและเชื้อเพลิง หากโดนระเบิดจากศัตรูเพียงสักลูกหนึ่งก็จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่จนเกิดระเบิดทั้งเรืออย่างรวดเร็ว หัวเลี้ยวหัวต่อจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพลเรือโท นากุโมะว่าควรทำอย่างไรต่อไป

แน่นอนว่าเป้าหมายสำคัญอยู่ที่เรือบรรทุกเครื่องบินมากกว่าเกาะมิดเวย์ พลเรือโท นากุโมะตัดสินใจเปลี่ยนแผนการ โดยให้เครื่องบินรบติดอาวุธสำหรับโจมตีกองเรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้กองทัพญี่ปุ่นเสียเวลาในการเปลี่ยนอาวุธไปไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง ทันใดนั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดที่บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินฮอร์เน็ตและเอนเทอร์ไพรซ์ก็ปรากฏขึ้นเหนือกองเรือญี่ปุ่น แต่การโจมตีนี้ไม่สำเร็จผล เพราะเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกาไม่ได้รับการคุ้มกันจากเครื่องบินขับไล่ของฝ่ายตน เมื่อต้องปะทะกับเครื่องขับไล่รุ่นซีโร่ (Zero) ของญี่ปุ่น และนักบินที่ชำนาญการรบ จึงพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ชนิดที่ตอปิโดไม่ระคายผิวกองเรือญี่ปุ่นแม้แต่น้อย

ดูหนัง Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์

ขอให้สนุกกับการดูหนังออนไลน์ หนังฝรั่ง เรื่อง Midway (1976) ยุทธภูมิ มิดเวย์ หนังประเภท Action บู๊ เว็บดูหนัง KUBHD.COM ดูหนังออนไลน์ฟรี หนังไทย Movie hdfree หนังต่างประเทศมากมายกว่า 10,000 เรื่อง หนังใหม่ ดูฟรี หนังไม่กระตุก ดูหนังชัดชนโรง หนังพากย์ไทย ซับไทย เต็มเรื่องHD หนังใหม่อัพเดททุกวัน หนังอัพเดทตลอด 24 ชั่วโมง ดูหนัง 2023 ดูหนังบนมือถือ Android iOS

แสดงความคิดเห็น

แชร์

หนังอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดูหนังออนไลน์ 2023

เว็บดูหนังมาแรงในตอนนี้ สามารถดูหนังออนไลน์ฟรี 24 ชั่วโมง ที่มีคุณภาพที่สุดในตอนนี้ ไม่มีโฆษณามารบกวนใจ อีกทั้งมีหนังมากมายมาให้เลือกชม มากมายกว่า 10,000 เรื่อง ที่นี่มีหนังใหม่2023 จากค่ายดังทุกค่ายมาให้ทุกคนได้รับชมกันอย่างรวดเร็ว ไม่ว่า Netflix, Disney+, Viu , DC , Marvel ทำให้ท่านได้รับความสนุกเพลิดเพลินเหมือนได้รับชมอย่างสมจริงทั้งภาพที่คมชัดระดับ Full HD และเสียงภาพยนตร์ที่คมชัดมากที่สุด

ดูหนัง Netflix หนังใหม่

อ่านต่อที่นี่