Full Metal Jacket (1987) เกิดเพื่อฆ่า
เรื่องย่อ
นาวิกโยธินสหรัฐฯ Full Metal Jacket (1987) เกิดเพื่อฆ่า ผู้มีทัศนคติเชิงปฏิบัติจริงสังเกตเห็นผลกระทบอันไร้มนุษยธรรมของสงครามเวียดนาม-สหรัฐฯ ที่มีต่อเพื่อนร่วมหน่วย ตั้งแต่การฝึกฝนในค่ายทหารอันโหดร้าย ไปจนถึงการสู้รบบนท้องถนนอันนองเลือดในเมืองเว้
ผู้กำกับ
Stanley Kubrick
บริษัท ค่ายหนัง
Warner Bros.
นักแสดง เกิดเพื่อฆ่า
- Matthew Modine
- Adam Baldwin
- Vincent D’Onofrio
- R. Lee Ermey
- Dorian Harewood
- Kevyn Major Howard
โปสเตอร์หนัง
เมื่อ สแตนลีย์ คูบริก ทำหนังสงครามเวียดนาม หน้าตาของมันก็ออกมาแตกต่างจากเรื่องอื่นอย่างสิ้นเชิง ไม่มีแอ็คชั่นสไตล์ดุเด็ดเผ็ดมัน ไม่มีภาพระดมพลสุดยิ่งใหญ่ ไม่มีฝูงเฮลิคอปเตอร์ปูพรมทิ้งระเบิดอลังการ เป็นเพียงแค่การนำเสนอสภาพจิตใจผู้คน ผลผลิตแห่งความบิดเบี้ยว
.
โดยลำพังเปิดเรื่องมาก็รับทราบแล้วว่าคูบริกมุ่งสู่ทิศทางที่ไม่มีใครเคยทำ ฉากลองเทคยาวๆ ของครูฝึกซึ่งปฐมนิเทศทหารใหม่ด้วยความเกรี้ยวกราด ใช้วาจาเหยียดหยาม แสดงให้เห็นอำนาจเพื่อบังคับบัญชา
.
ตลอดครึ่งแรกมีแต่เรื่องราวกิจวัตรการฝึกในค่าย ก่อนจะได้ระแคะระคายว่าจุดมุ่งหมายคือนำเสนอระบบอันโหดร้ายที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ เปลี่ยนคนเป็นเครื่องจักรสังหาร จนกระทั่งลงเอยด้วยโศกนาฏกรรม เมื่อเด็กหนุ่มพวกนี้จากที่เคยได้รับการสอนสั่งให้เห็นคุณค่าของชีวิตต้องมาถูกฝังหัวแต่เรื่องการฆ่า
.
ส่วนครึ่งหลังที่เป็นบรรยากาศในสมรภูมิจริงๆ นั้นก็ยังคงดำเนินแบบไม่อิงตามสูตร คูบริกไม่ได้เลือกสภาพแวดล้อมของป่าดงดิบ หากแต่จำลองซากปรักหักพังของเมืองเว้เป็นฉากหลัง มุ่งจิกกัดการบิดเบือนความเป็นจริงด้วยสื่อของรัฐบาล มีตากล้องจับภาพสีหน้าอันมุ่งมั่นของทหารหาญ แต่ไม่ครอบคลุมสภาพความเสียหายแท้จริง ชีวิตมากมายซึ่งถูกพรากไป
.
ขณะเดียวกัน หนังเรื่องนี้ยังเปิดโอกาสให้นักแสดงหน้าใหม่ๆ ก้าวขึ้นมาสร้างชื่อฝากฝีมือ โดยเฉพาะบรรดาคนหนุ่มเวลานั้นอย่าง แมทธิว โมดีน, อดัม บอลด์วิน และ วินเซนท์ โดโนฟริโอ ที่มอบความตราตรึงไว้ด้วยฉากโหลดกระสุน 7.62 ม.ม. พร้อมสายตาวิปลาสจ้องเข้าหากล้อง
.
แต่แน่นอน ผู้ที่กลายเป็นดั่งสัญลักษณ์ของหนังคือ อาร์. ลี เออร์มีย์ เจ้าของบทจ่าครูฝึกสุดโหด เรื่องของเรื่องคือเออร์มีย์เป็นทหารที่เคยรบในเวียดนามมาจริงๆ ส่วนเส้นทางการแสดงของเขาเป็นในเชิงจับพลัดจับผลู จากประเดิมรับตำแหน่งที่ปรึกษาให้กองถ่าย Apocalypse Now (1979) พ่วงด้วยเล่นบทตัวประกอบ วันดีคืนดีฝ่ายแคสติ้งของเรื่องนี้ก็ทาบทามเขาเพราะเล็งเห็นความเป็นธรรมชาติในฐานะทหาร แล้วค่อยสอนการแสดงให้ทีหลัง
.
อาจกล่าวได้ว่าเออร์มีย์คือผู้กำหนดโทนให้หนังทั้งเรื่อง เมื่อคูบริกรวบรวมพลทหารตัวประกอบมายืนเรียงแถวแล้วให้เขาทดลองสวมคาแร็คเตอร์ไล่เรียงตวาดจาบจ้วงทีละคนแบบด้นสด ฝ่ายทีมงานก็บันทึกภาพเก็บไว้แล้วถอดคำพูดทั้งหมด ผลคือการถอดคำนั้นยาวถึง 800 หน้า จึงอาศัยหยิบจับรายละเอียดในนั้นมาสร้างฉากเปิดเรื่อง ส่วนที่เหลือแค่ปล่อยให้เออร์มีย์ออกอาละวาด
.
โดยทั้งหมดทั้งมวล เป้าหมายของคูบริกไม่ใช่เพื่อสร้างความบันเทิงเริงใจ การรบกันไม่ใช่เรื่องน่าพิศมัย ฉะนั้น จึงไม่ได้เจาะจงบอกเล่าความเป็นไปของสงคราม แต่เป็นผู้คนซึ่งได้รับผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ นี่คือหนังประเภทที่ดูแล้วไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกยินดียินร้ายกับใคร มันไม่มีผู้ชนะ มีเพียงแต่ผู้รอดชีวิต
ใครหละจะไปเชื่อ สงครามอาจเริ่มต้นตั้งแต่ในค่ายแล้ว
หนังระดับมาสเตอร์ำพีซที่ว่าด้วยเรื่องราวสุดกู่ของสงครามเวียดนามที่เล่าเรื่องออกมาได้เจ็บแสบ กระแทกสงครามเลยก็ว่าได้ เพราะหนังตกอยู่ในมือของสแตนลี่ย์ ครูบิก นักทำหนังปรัชญา ยาว ยืดแต่ได้เนือ้หาสาระ !!!
ตัวหนังเลยแบ่งเป็นสองพาร์ทใหญ่ Full Metal Jacket (1987) เกิดเพื่อฆ่า ในระหว่างช่วงค่ายทหารกับช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อได้ความยาวยืดแต่หาสาระสนุกได้จากสองพาร์ท จึงแบ่งไปได้ดังนี้
พาร์ท 1
เป็นพาร์ทที่ว่าด่้วยเรื่องราวของเด็กใหม่ในค่ายทหารที่กำลังถุกฝึกมาเป็นนาวิกโยธิน ซึ่งจ่าฮาร์ทแมน (อา.ลี เอรอมี่) จ่าที่ดูท่าเข้มงวดสุดๆ ชอบตะคอกคน ด่าคนภาษาคำหยาบ การลงโทษก็ขั้นรุนแรง และนั้นเองการฝึกทหารนั้นก็ต้องมีอุปสรรคคือ ดันมีเจ้าเนื้อที่เิดินเชื่องช้าที่ชื่อ พลลีโอนาร์ด ลอว์เรนซ์ (วินเซนต์ ดี โอโนฟรีโอ) ทำให้การฝึกอะไรไม่ราบรื่นมาก แถมการอยู่ในค่ายทหารนั้นเหมือนกับการอยู่ในค่ายกักกันที่ฝึกคนมาเป็นนักฆ่าดีๆนี่เอง !!
พาร์ท 2
เป็นพาร์ทที่ว่าด้วยเรื่องราวต่อจากการฝึกในค่ายจบลง (จบได้สะใจมากครับ ฮิฮิ ไม่บอกว่าสะใจยังไง) นายพลโจ๊กเกอร์ (แมททิว มอดีน) หนึ่งในทหารในค่ายนั้นได้จบออกมาเป็นทหารนาวิกโยธินดำรงตำแหน่งผู้สื่อข่าว (เรียกง่ายๆว่าเขาคือคนหาแหล่งข่าวหละครับ) แต่แล้ววันหนึ่งมีมีภารกิจที่ให้หาแหล่งข่าวในเมืองเฮว้ แต่นั้นเองพอถึงที่นั้นเอง นายพลโจีกเกอร์นั้นก็ได้เจอพี่ชายของเขา
และันั้นเองเขาก็ต้องมาจับปืนรบกับเวียดกงในตึกนั้น !!
ผมขอเล่าไว้แค่นี้นะครับ เพราะพาร์ทแรกหนังจะเน้นความกดดันซะส่วนใหญ่เดี๋ยวผมเล่าหมดจะไม่สนุกก็ได้ครับ และในช่วงพาร์ทที่สองนั้น ตอนจบของหนังมันเหมือนเป็นการตบหน้าคนดูเลย เพราะอะไร เดี๋ยวจะหมดสนุกนะครับ แนะนำครับว่าลองหามาดูเอา หนังไม่ยาวมากนักครับ 1 ชั่วโมง 50 กว่านาทีเอง
แต่หนังเรื่องนี้ดันเป็นหนังสงครามที่จะเล่าเนื้อหาของสงครามไปในทางลบ ไม่มีจ้อบวกของทางด้านสงครามเลย แต่โดยปกติแล้วหนังสงครามส่วนใหญ่นั้น จะเล่าเรื่องสงครามในทางด้านสามัคคี การเสียสละ ด้านบวกหมดเลยใช่ไหมครับ
แต่หนังสงครามเรื่องนี้นับว่าเป็นหนังสงครามที่แตกต่างไปจากเรื่องอื่นมากๆ เพราะว่าหนังสงครามเรื่องนี้แสตนลี่ ครูบิคเองพยายามจะตีความใหม่ว่าสงครามนั้นมีไว้เพื่ออะไร
เพื่อฝึกความสามัคคี ? ฝึกเพื่อการเสียสละ ?
หรือฝึกเพื่อมาฆ่า !!!!
ในช่วงพาร์ทแรกนั้นในการฝึกทหารนั้นเอง ครูฝึกก็ชอบที่จะตะเบ่งใส่นายหทารหลายๆนาย และทำตัวครูฝึกเองยังกะพระเจ้า เพราะเขานับถือพระแม่มารี และหลายๆครั้งเองที่นายทหารบางท่านที่ทำไม่ได้ดั่งใจโดยเฉพาะนายพล ลีโอนาร์ด ลอว์เรนซ์ เจ้าเนื้ออุ้ยอ้ายที่ในเวลาการฝึกเองนั้น เขาคือตัวอุปสรรคชั้นดีเลย ทำให้บ่อยครั้งครูฝึกเองต้องตะโกนใส่ตลอดเวลา ทำยังกะฝึกทหารมาเป็นนักฆ่า ยังไงยังงั้น
และยิ่งความกดดันของค่ายทหารนั้นเองดูเหมือนว่าการที่จะทำให้ทหารทุกคนมารักกัน สามัคคีกัน แต่ต้องมาทำร้ายกันซะเอง เพียงเพราะการฝึกค่ายทหารสุดโหดนั้นเอง
พอช่วงที่สองของหนังนั้นเอง ดูเหมือนจะเป็นแนวนิยมทุนของหนังสงครามอยู่ เพราะด้วยการที่ดำเนินเรื่องที่มาแนวหนังสงคราม ทำให้พาร์ทนี้ดูสบายมากขึ้น แต่ พอหนังเองดำเนินเรื่องมาถึงตอนเฉลยว่าใครคือคนที่ลอบฆ่าทหารนั้นเอง กลับกลายเป็นว่าเหมือนคนดูกำลังโดนตบหน้าคว่ำ !! เพราะ ?
และนั้นเองคือคำบรรยายหลังจากที่ดูหนังแนวสงครามเสียดสีสงครามกันเอง ถ้าโดบรวมแล้วสนุกไหม อาจจะไม่มากเพราะด้วยการดำเนินเรื่องที่ยังชวนง่วงไปบ้าง ในบางฉาก แต่ยังดีที่หนังเองยังเสียดสีได้แสบๆคันๆครับ
สรุปแล้วมันคือหนังเสียดสีสงครามที่แสบๆคันๆ ซึ่งผมก็ชอบนะ
++++++++++++++++สรุป+++++++++++++++
ข้อดี
+ หนังเสียดสีสงครามที่ทำออกมาได้แสบๆคันๆครับ
+ นักแสดงที่แสดงได้พอได้ครับ (แอบเสียดายที่อาโนลด์ไม่มาเล่นด้วยแหม) ยกเว้นอา.ลี เอรอมี่ที่เล่นเป็นจ่าฮาร์ทแมนแสดงได้โครตดีมากๆครับ
ข้อเสีย
– ในบางฉากของเรื่องยังคงดำเนินเรื่องได้ชวนง่วงครับ
สรุปคะแนนกันครับ
ผมใ้ห้ไปเลยสำหรับหนังเสียดสีสงครามครับ 8.5/10 ครับ
ปล.เดี๋ยวงงกันใหญ่ว่าอาโนลด์มาเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ ที่จริงแล้วบทแอนิมั่ล มาเธอร์นั้นจริงๆแล้ว บทนี้เพื่ออาโนลด์โดยเฉพาะแต่แล้วเมื่ออาโนลด์ไม่ว่างจริงๆ สุดท้ายมาตกที่อดัม แบลดวินครับ ^^
แม้ว่าฉันจะอ่านความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้เพียงไม่กี่สิบข้อจากเกือบ 500 ข้อ แต่ฉันไม่เห็นความคิดเห็นจากอดีตนาวิกโยธินที่เคยมีประสบการณ์ที่เกาะพาร์ริสเลย ฉันเคยดู PI ในปี 1957 ช่วงเวลาในภาพน่าจะเป็นประมาณปี 1967 เนื่องจากฉากในประเทศมีการรุก Tet Offensive ในปี 1968 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นการเปลี่ยนจาก M1 มาเป็น M16
ส่วนใหญ่แล้ว คูบริกทำได้อย่างแม่นยำที่เกาะพาร์ริส และทำไมเขาถึงทำไม่ได้ เพราะตั้งแต่ที่เขาเล่นเป็น DI บนจอ ลี เออร์มีย์ก็เป็น DI ตัวจริงก่อนที่จะเริ่มแสดง (เขาเล่นเป็น DI อีกคนหนึ่งในเรื่อง “The Boys of Company C” ซึ่งเป็นภาพยนตร์เวียดนามเรื่องก่อนหน้าและไม่ค่อยสำคัญนัก) เขามีที่ปรึกษาทางเทคนิคในตัว เสียงกรีดร้อง การดูหมิ่น การสบประมาท และการลงโทษทางกายภาพ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอาวุธยุทโธปกรณ์ของ DI เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้าอายุน้อยถึง 75 คน คุณต้องรีบสร้างอำนาจสูงสุดและยึดมันไว้เป็นเวลา 13 สัปดาห์ นอกจากนี้ คุณต้องทำลายสิ่งที่ทำลายได้โดยเร็วที่สุด หมวดของฉันมีพลทหารไพลส์ และถึงแม้จะไม่มีใครลงเอยเหมือนอย่างใน “Full Metal Jacket” ฉันจำได้ว่าพวกเขาหายตัวไปจากตำแหน่งของเราอย่างง่ายดาย และไม่มีใครได้ยินข่าวคราวอีกเลย ไม่มีอะไรที่เออร์มีในบทจ่าฮาร์ตแมนทำแล้วเกินจริง
อย่างไรก็ตาม คูบริกก็พูดเกินจริง เมื่อพูดถึงตอนจบของไพล ฉันแทบจะนึกไม่ออกเลยว่าทหารใหม่จะสามารถแอบถ่ายคลิปกระสุนจริงจากสนามยิงปืนได้ ทหารทุกคนที่สนามยิงปืนมีโค้ชยิงปืนเป็นของตัวเอง และทุกนัดก็ถูกนับอย่างระมัดระวังมาก คูบริกเริ่มฉากการสังหารเร็วเกินไป
ฉันอ่านมาว่าทุกวันนี้ DI ถูกห้ามใช้คำหยาบคายตามธรรมเนียม และไม่อนุญาตให้ลงมือกับทหารใหม่ ฉันไม่รู้ว่านั่นดีหรือไม่ดีสำหรับการฝึกซ้อม (ฉันโดนตบหน้าอย่างแรงในวันแรกที่เข้าค่ายฝึกทหาร และนั่นเป็นแค่การเปิดค่ายเท่านั้น) แต่พวกเราที่เป็นทหารผ่านศึกต่างก็ชอบคุยโวว่ามันเคยยากขนาดไหน!
หมายเหตุสุดท้าย: การเปรียบเทียบ กับความพยายามอีกครั้งในการนำเสนอ Parris Island เรื่อง “The DI” ของ Jack Webb ซึ่งสร้างขึ้นประมาณปี 1955 หรือ 1956 นั้นน่าสนใจ Webb พยายามทำให้ดูสมจริง แต่เมื่อฉันได้เรียนรู้ในอีกประมาณหนึ่งปีต่อมา ฉันก็พบว่า PI ของเขาเป็นค่ายลูกเสือ
แปลกดีที่ตอนที่ฉันนั่งดู Full Metal Jacket เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี สิ่งที่ฉันจำได้มากที่สุดคือคำบ่นของจ่าสิบเอกฮาร์ตแมนของลี เอเมอรีและวินเซนต์ ดิโอโนฟริโอ ที่จริงแล้ว พลทหารลอว์เรนซ์ของวินเซนต์ ดิโอโนฟริโอที่รู้จักกันในชื่อ “โกเมอร์ ไพล์” คือสิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ของสแตนลีย์ คูบริกน่าจดจำอย่างแท้จริง ฉันเริ่มสังเกตเห็นสิ่งนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อฉันอายุมากขึ้นและกลับไปดูหนังเก่าๆ การแสดง การแสดงบางอย่าง แม้แต่ในบทบาทสมทบ ช่วยให้ภาพยนตร์ยังคงเติบโตต่อไปตามกาลเวลา Full Metal Jacket เป็นภาพยนตร์ที่สะเทือนขวัญ หรือควรพูดว่าเป็นภาพยนตร์ที่สะเทือนขวัญสองเรื่อง ส่วนแรก การฝึกฝน บทนำ เป็นผลงานชิ้นเอกที่แทบจะเทียบไม่ได้ ดังนั้น ส่วนที่สองจึงไม่เทียบได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังเป็นประสบการณ์การชมภาพยนตร์ การแสดงของวินเซนต์ ดิโอโนฟริโอทรงพลังยิ่งขึ้นในตอนนี้ แม้จะผ่านมา 30 ปีแล้ว ยิ่งใหญ่มาก! ท้องฟ้าของอังกฤษเหนือเวียดนามเป็นอีกเครื่องเตือนใจว่าสายตาของศิลปินนั้นไร้ขอบเขต
“ด้วยดอกไม้และความรักที่ไม่มีวันหวนกลับ… มันไม่ง่ายเลยที่จะเผชิญหน้าเมื่อโลกทั้งใบของคุณมืดมน” นี่คือบทเพลงอันเร้าใจของชายผู้เป็นเครื่องหมายจุดจบของภาพยนตร์ เนื้อเพลงที่โหดร้ายเพื่อบรรยายเรื่องราวที่ทั้งเจ็บปวดและน่าหลงใหล
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีตัวร้าย มีเพียงเหยื่อที่เป็นฮีโร่เท่านั้น ตัวร้ายทั้งหมดอยู่นอกจอ นั่งสบายๆ อยู่หลังโต๊ะไม้มะฮอกกานี หรือแต่งตัวเพื่อความสำเร็จและกล่าวสุนทรพจน์อันแหลมคมเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพต้องใช้สงคราม ตรรกะที่แปลกประหลาด
ในตอนแรกเป็นการฝึกทหารใหม่ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับกลุ่มชายหนุ่มชาวอเมริกันทั่วไป ในที่นี้ จ่าสิบเอกผู้โหดร้ายใช้ภาษาที่สวยหรูในการสั่งการและดูถูกฮาเดสโดยตรง เป็นการตัดสินใจที่เด็ดขาดสำหรับมือใหม่ของเรา เป็นการทดสอบความดำมืดที่บางคนอาจไม่สามารถฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ตาม เหล่าทหารก็ได้เรียนรู้บทเรียนอันมีค่า นั่นคือ ชีวิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางกาย ไม่ใช่จิตใจ เป็นบทเรียนที่อาจารย์มหาวิทยาลัยในหอคอยงาช้างบางคนไม่เคยเรียนรู้
แต่แล้วมันก็ดำมืดยิ่งขึ้นไปอีก … เวียดนาม ฉากการต่อสู้ถูกทำให้เชื่อได้ด้วยภาพที่มีประสิทธิภาพและเอฟเฟกต์เสียงที่ยอดเยี่ยม: เสียงกลองที่ดัง เสียงอุปกรณ์และเสียงฝีเท้าที่ดังกึกก้องบนเศษซากระเบิด และเสียงสะท้อนที่ดังก้องกังวานและแผ่วเบาอยู่เสมอ ฉากเหล่านี้ทรงพลังและทรมาน สื่อถึงความเร่งด่วนแบบเซน ความรู้สึกถึงหายนะที่ใกล้เข้ามา และในตอนท้ายของภาพยนตร์ เนื้อเพลงเหล่านั้น …
ประกอบด้วยสองส่วนที่ทับซ้อนกันเล็กน้อย โครงสร้างของบทภาพยนตร์นั้นค่อนข้างแปลก แต่ภาพยนตร์ก็ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความเข้มข้นที่ไม่เคยลดลง R. Lee Ermey นั้นยอดเยี่ยมมากในบทผู้ฝึกสอนที่ดุดัน การคัดเลือกนักแสดงสิงโตหนุ่มนั้นโอเค แม้ว่าจะมีบางกรณีที่ค่อนข้างอ่อนแอ การแทรกเพลงป๊อปของยุคนั้นเข้าไปนั้นได้ผลดีในการทำให้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างเวียดนามที่ได้รับผลกระทบจากสงครามกับอเมริกาที่ไม่สนใจใยดีนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
การดูหนังสงครามเป็นครั้งคราวนั้นดีต่อจิตใจเช่นเดียวกับการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ เพราะช่วยให้มองเห็นปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ ด้วยเหตุนี้ หนังสงครามเรื่องนี้จึงดีกว่าเรื่องอื่นๆ เพราะมันชวนติดตามและเข้มข้น และความรู้สึกถึงความมืดมิดที่ใกล้เข้ามายังคงวนเวียนอยู่ในตัวเหยื่อผู้กล้าหาญของเรื่อง เช่นเดียวกับดาบดาโมคลีส
ดูหนังออนไลน์ ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Mutant (2024) มนุษย์กลายพันธุ์
Macross Delta Zettai Live (2021)
Emperor (2012) จักรพรรดิของปวงชน
6.3