The Town (2010) เดอะ ทาวน์ ปล้นสะท้านเมือง
เรื่องย่อ
The Town (2010) เดอะ ทาวน์ ปล้นสะท้านเมือง เบน แอฟเฟล็ก กำกับงานชิ้นที่ 2 ในบทดั๊ก โจรปล้นธนาคารมือฉกาจที่มั่นใจในฝีมือ และ.ไม่เคยห่วงชีวิตใคร จนงานชิ้นหลังสุดที่เขาได้จับแคลร์ พนักงานธนาคารสาวเป็นตัวประกันก่อนปล่อยเธอไป แคลร์มีชีวิตอยู่อย่างหวาดวิตกจนเมื่อได้พบชายที่อบอุ่นคนหนึ่งที่ทำให้เธอรู้สึกสบายใจ แต่หารู้ไม่ว่าเขาคือ ดั๊ก โจรร้ายที่เคยจับเธอไป และ.ความรักของคนทั้งสองทำให้พวกเขาต้องเสี่ยงอันตรายมากยิ่งขึ้น
ผู้กำกับ
Ben Affleck
บริษัท ค่ายหนัง
- Legendary Pictures
- GK Films
- Thunder Road Film
นักแสดง
- Ben Affleck
- Rebecca Hall
- Jon Hamm
- Jeremy Renner
- Blake Lively
- Titus Welliver
- Pete Postlethwaite
- Chris Cooper
โปสเตอร์หนัง The Town (2010) เดอะ ทาวน์ ปล้นสะท้านเมือง
รีวิวหนัง The Town (2010) เดอะ ทาวน์ ปล้นสะท้านเมือง
Nutonline
[รีวิวหนัง] The Town (2010) ก้าวสำคัญของ ‘เบน แอฟเฟล็ก’ ในการกำกับหนังดราม่าอาชญากรรมเจ๋ง ๆ ของยุคใหม่
The Town (2010)
ในยุคที่เรากำลังหาหนังปล้น (heist films) ดี ๆ ดูได้ยากเหลือเกิน ดีในที่นี้หมายถึง แผนการปล้นน่าเชื่อถือ หนังไม่โม้จนเกินไป ถ้าเป็นหนังอาชญากรรมยุคใหม่ก็ต้องบอกว่ามันมีส่วนผสมของดราม่าที่ลงตัว (ช่วงยุค 70 ออกแนวเป็นทริลเลอร์ลุ้นระทึกไม่สนใจดราม่าตัวละครสักเท่าไร) การถือกำเนิดของ The Town จึงนับว่าเป็นการมาถูกที่ถูกเวลา
ย้อนไปถึงหนังปล้นดัง ๆ คลาสสิกตั้งแต่อดีต
Rififi – เป็นหนังอาชญากรรมปล้นร้านเพชรเรื่องแรก ๆ เลยมั้งครับที่ให้ความสำคัญกับตัวละคร นอกจากฉากปล้นสุดคลาสสิกแล้วยังมีการต่อยอดเล่นกับจิตใจมนุษย์ด้วยครับ
The Killing – หนังปล้นสนามม้าของ ‘สแตนลี่ย์ คูบริค’ ส่วนผสมของแผนการปล้นที่น่าเชื่อถือและการกำกับให้คนดูลุ้นชนิดหายใจไม่ทั่วท้องตลอดเวลา!
Dog Day Afternoon – เหตุการณ์จริงของการปล้นธนาคารธรรมดา ๆ ที่กลายเป็นหนังสะท้อนปัญหาอเมริกายุคนั้น
Inside Man – อีกหนึ่งหนังปล้นธนาคารล้ำ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องขายฉากแอ็คชั่น
และที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ Heat ที่อาจจะเรียกว่าเป็นต้นแบบของ The Town ก็ว่าได้
The Town เล่าเรื่องของ ‘ดั๊ก’ (Ben Affleck) หนึ่งในโจรปล้นธนาคารที่เกิดตกหลุมรัก ‘แคลร์’ ผู้จัดการธนาคารที่เขาเคยจับเป็นตัวประกัน และความรักครั้งนี้ก็ทำให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง อยากออกจากเมืองไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ไหนสักแห่ง โดยที่มีเขาต้องทิ้งชนักติดหลังทั้งหมด ตั้งแต่ ‘เจมส์’ (Jeremy Renner) เพื่อนสนิทตั้งแต่เด็กของเขา และยังเคยติดคุก 9 ปีจากการฆ่าคนที่จะมาทำร้ายเขาอีกด้วย, ‘คริส’ (Blake Lively) น้องสาวของเจมส์ อดีตคนรักของเขาที่มีลูกติดโดยไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อเด็ก, ไหนจะ ‘สตีเฟน’ (Chris Cooper) พ่อของเขาที่ติดคุกอยู่ในเมืองนี้อีก จนเมื่อเขาพร้อมหันหลังให้เมืองนี้ ‘เฟอร์กี้’ (Pete Postlethwaite) ก็มาพร้อมคำขู่ถึงแฟนสาวเขา เพื่อต้องการให้เขารับงานใหญ่ชิ้นสุดท้าย
เราจะเห็นว่าโครงเรื่องการปล้นธนาคารและต้องการวางมือมันเหมือนกับ Heat ครับ ดำเนินเรื่องด้วยการเปิดหนังด้วยฉากปล้นธนาคารเหมือนกัน จบหนังด้วยฉากปล้นครั้งใหญ่เหมือนกัน (ตัวเอกรอดไปได้เหมือนกันด้วยเนี่ยสิ) ไหนจะต้องดวลฝีปากทันเกมกับ FBI ที่แอบสะกดรอยตามเหมือนกัน (แต่ Heat เด็ดกว่าเยอะ) ที่เหมือนกันอีกก็คือต้องการวางมือหลังจากเจอผู้หญิงที่หลงรัก และยังไม่รวมฉากส่งซิกที่ช่างละม้ายคล้ายกันเสียเหลือเกิน ฮ่าๆๆ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า The Town แค่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Heat ซึ่งเป็นเรื่องปกติของโลกภาพยนตร์ที่ต้องหยิบยืมงานศิลปะเก่า ๆ มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพราะถ้ามองกันตามตรงแล้วก็ต้องบอกว่า Heat สร้างโครงเรื่องดราม่าของตัวเองได้น่าสนใจทีเดียว
เมื่อดูปมที่มาของ ‘ดั๊ก’ เด็กคนหนึ่งที่โตมาในย่านที่การปล้นธนาคารถูกมองว่าเป็น ‘ไอดอล’ เด็ก ๆ ใฝ่ฝันจะรวยทางลัดแบบนี้กัน แม่ก็หนีหายไป พ่อก็ติดคุก ช่วงวัยรุ่นหัวเลี้ยวหัวต่อมีโอกาสได้ดีจากการเป็นนักกีฬาฮ็อกกี้ก็โยนมันทิ้งไป ชีวิตเขาไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยว จึงไม่แปลกที่เขาจะถูกชักชวนให้เข้าสู่วงการอาชญากรรมได้โดยง่าย จนกระทั่งเขาได้เจอ ‘แคลร์’ ที่กลายมาเป็นที่พักใจของเขา เป็นคนที่เขาไว้ใจจะเล่าเรื่องครอบครัวให้ฟัง
ต้องขอชมวิธีการเล่าเรื่องปมตัวละคร ‘ดั๊ก’ ด้วยการค่อย ๆ ปอกเปลือกออกมาทีละขั้น ๆ จากการพูดคุยกับ ‘แคลร์’ ในแต่ละครั้ง นับเป็นชั้นเชิงของหนังที่ทำออกมาได้ดีทีเดียวครับ
พูดถึงความเป็นหนัง neo-noir สักหน่อย จริง ๆ ฟิล์มนัวร์นี่เป็นประเภทหนังที่จัดยากเหมือนกันแฮะ ถ้าว่ากันตามธีมเรื่องหมิ่นเหม่ศีลธรรม ทำให้คนดูต้องเอาใจช่วยคนทำผิดและมีผู้หญิงเป็นแรงจูงใจ ผมก็นับว่า The Town มันก็จัดเป็นนัวร์สมัยใหม่ได้อยู่ครับ
ความเป็นนีโอ-นัวร์ หรือนัวร์สมัยใหม่คือการที่หนังสร้างตัวละคร ‘ดั๊ก’ ในรูปแบบ ‘good bad guy’ เราเห็นภาพว่าเขาคือ ‘โจรปล้นธนาคาร’ แต่ขณะเดียวกันเราก็รู้สึกว่าเขาไม่ใช่คนเลวร้ายอะไรมากนัก เพราะเขาต้องการเพียงเงิน ไม่ได้ต้องการทำร้ายร่างกายใคร นิสัยส่วนตัวก็ดูเป็นคนน่าคบหา แล้วยิ่งเมื่อเขาเล่าเรื่องในอดีตให้ ‘แคลร์’ ฟัง ยิ่งทำให้รู้สึกว่าเขาเป็นตัวละครที่น่าเห็นใจ สภาพแวดล้อมบีบให้เขาไม่มีทางเลือกมากนัก การโตมาโดยไม่มีเสาหลักเป็นที่พึ่ง และการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตอาชีพกีฬาที่ผิดพลาดทำให้เขาเหลือทางเลือกไม่มาก ดังนั้นเมื่อเขาแสดงออกว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ คนดูอย่างเราจึงรู้สึกเอาใจช่วยตัวละครนี้ให้ทำสำเร็จ
นอกจากนี้หนังยังเล่นประเด็นที่เกี่ยวกับชนักติดหลัง ‘ดั๊ก’ ที่หมิ่นเหม่ต่อการตัดสินคน ๆ หนึ่งว่าเป็นคนดีหรือคนชั่ว เพราะการที่เขาจะเริ่มต้นชีวิตใหม่นั้น เขาต้องทิ้ง 3 อย่างพร้อม ๆ กันคือ
1. ‘เจมส์’ เขาไม่ได้จะตัดขาดอะไรจากเพื่อนรักที่ดีที่สุดของเขา เพียงแต่เมื่อเพื่อนของเขาอยากให้เขารับงานครั้งสุดท้ายที่มีความเสี่ยง เขายังห่วงเพื่อนเสมอ แต่หนังมาร้ายกาจในฉากสุดท้าย เมื่อเจมส์ที่ครั้งหนึ่งเคยลงมือฆ่าคนที่จะมาทำร้ายดั๊ก จนตัวเองต้องติดคุก 9 ปี กับฉากที่ ‘ดั๊ก’ ได้แต่นิ่งเฉยยืนมองเพื่อนถูกตำรวจไล่ตามจับกุม
2. ‘คริสและลูกไม่มีพ่อ’ หนังพูดถึงตัวละครนี้ค่อนข้างน้อย นอกจากให้คนดูรับรู้แค่ว่าเธอเป็นแฟนเก่าของดั๊ก (พร้อมกับเป็นแฟนคนอื่นอีกหลายคนในเวลาเดียวกัน) แต่เมื่อถึงจุดที่คริสต้องการจะไปจากเมืองด้วย คำตอบของเขากลับเป็น ‘ปฏิเสธ’
3. ‘สตีเฟน’ พ่อแท้ ๆ ที่อยู่ในคุก โอเคว่าตัวละครนี้อาจไม่ใช่ชนักติดหลังที่ร้ายแรงสักเท่าไร แต่การจะไปต่างเมืองย่อมทำให้เขาไม่มีโอกาสเจอพ่อได้ง่าย ๆ เหมือนเดิมแล้ว
และนี่คือ ‘good bad guy’ ที่เรากำลังลุ้นให้เขาไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้สำเร็จ
บทหนังในสายตาผมเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ ‘ดี’ และมีธีมฟิล์มนัวร์อาชญากรรมดราม่าที่เรียกว่า ‘แข็งแรงมาก’ อันเกิดจากการที่หนังโฟกัสไปที่ตัวละครเอกเป็นหลัก ซึ่งผลข้างเคียงที่ตามมาก็คือตัวละครรองบางตัวไม่ได้รับการสนใจอย่างที่ควร หนังยังมีจุดที่ใช้ความบังเอิญเข้าช่วย เช่นอุบัติเหตุของคริสก่อนฉากปล้นครั้งสุดท้ายที่ทำให้ตำรวจรู้ว่าพวกของดั๊กกำลังจะไปปล้นสนามเบสบอล รวมถึงฉากช่วงท้ายที่ดูจะง่ายเกินไปสักหน่อย
หนังมาพร้อมฉากปล้น 3 ฉากเด็ดที่น่าจดจำ
• เริ่มจากฉากปล้นธนาคารอย่างรวดเร็วตั้งแต่เปิดตัวหนัง ซึ่งทำให้เห็นว่าวิธีการของโจรกลุ่มนี้คือมืออาชีพจริง ๆ
• ตามด้วยฉากปล้นรถขนเงินอย่างรวดเร็วอีกเช่นเคย + car chase เล็ก ๆ เพิ่มความน่าตื่นเต้น และปิดท้ายด้วยฉากตลกร้ายที่ตำรวจเบือนหน้าหนีแก๊งโจรที่กำลังขนเงินออกจากรถ!
• ไคลแม็กซ์ของหนังอยู่ที่ฉากปล้นสนามเบสบอลเนี่ยแหละครับ แผนการปล้นที่แอบคิดถึง The Killing ปี 1956 (สนามม้า vs. สนามเบสบอล) ผสมฉากดวลปืนที่ดูแล้วคิดถึง Heat (แต่ Heat ทำออกมาเทพกว่ากันเยอะ) คิดถึงในแง่ที่ว่ามันเป็นฉากดวลปืนที่สมจริง เสียงปืนประกอบสมจริง ยิ่งพวกหูฟังลำโพง 5.1 นี่อิ่มเลยครับ
หลังจาก ‘เบน แอฟเฟล็ก’ พิสูจน์ความสามารถในการทำงานเบื้องหลังของตัวเองใน Gone Baby Gone ผลงานกำกับหนังเรื่องแรกว่าด้วยธีมหนังฟิล์มนัวร์สีเทาที่พร้อมขยี้จิตใจคนดู เขาใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อส่งตรงพิสูจน์กับคนทั้งโลกว่าความสำเร็จในแง่คำวิจารณ์จากการกำกับหนังเรื่องแรกไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะฝีมือของเขา!! และรอบนี้เขาเปลี่ยนจากหนังฟิล์มนัวร์สืบสวนมาทำหนังแอ็คชั่นอาชญากรรมซะด้วย!
เนื่องด้วยรีวิวนี้เขียนหลังจาก Argo ได้ออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปแล้ว เลยอยากขอพูดถึงฝีมือกำกับนักแสดงของเขาสักหน่อยว่า เขากำกับหนังแค่ 3 เรื่อง และไม่ใช่หนังที่ไปเชิดฉายบนเวทีออสการ์ แต่นักแสดงของเขาจากหนังทั้ง 3 เรื่องได้เข้าชิงออสการ์การแสดงถึง 3 คน! โอเคว่าเครดิตใหญ่ย่อมอยู่กับนักแสดง แต่การที่เขาดึงศักยภาพออกมาได้ก็ต้องให้เครดิตเขาด้วยเช่นกันครับ
• การเข้าชิงออสการ์ครั้งแรกและครั้งเดียวของ Amy Ryan จากบทแม่ที่สภาพชีวิตย่ำแย่ออกตามหาลูกสาวใน Gone Baby Gone
• Jeremy Renner เข้าชิงออสการ์ครั้งที่สอง จากบทอันธพาลคาดเดาได้ยากใน The Town
• Alan Arkin จากบทสมทบเป็นโปรดิวเซอร์ในแผนการ Argo
ไหนจะการโชว์ลูกไม้รายละเอียดเล็ก ๆ สอดแทรกภาพสัญลักษณ์ในหนังของเขา เช่นฉากตำรวจเบือนหน้าหนี, ฉากที่แก๊งโจรเพิ่งจะคุมหน้าด้วยหน้ากากแม่ชี แล้วมองออกไปนอกรถมีเด็กน้อยคนหนึ่งมองมายังแก๊งปล้นธนาคาร ซึ่งไปสอดรับกับการเล่าเรื่องวัยเด็กของ ‘ดั๊ก’, การตัดต่อสภาพจิตใจของ ‘แคลร์’ หลังจากโดนปล่อยตัวให้เดินลงน้ำก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งลูกไม้เล็ก ๆ ที่เขาทำออกมาได้ดี และไม่ต้องพูดถึงการคุมสเกลฉากปล้นแต่ละฉากที่ยอดเยี่ยมมาก!
พูดถึงการแสดงกันบ้าง ‘เจเรมี่ เรนเนอร์’ คู่ควรกับรางวัลรองชนะเลิศออสการ์การแสดงสมทบฝ่ายชายปีนั้นมาก ๆ ครับ (รางวัลชนะเลิศปีนั้นต้องยอมให้เบลจาก The Fighter จริง ๆ) เฮียเรนเนอร์แกแสดงได้กุ๊ยมาก ซาถุน ถ่อย ทราม คาดเดาได้ยาก แต่ดูเป็นมิตรรักพวกพ้อง แสดงดีจริง ๆ ครับ เป็นอีกหนึ่งนักแสดงที่ผมชอบด้วย เลือกรับงานช่วงหลังมานี้น่าสนใจดีครับ
ในขณะที่คนที่คู่ควรแก่การยกย่องมากที่สุดผมขอมอบให้ ‘เบน แอฟเฟล็ก’ นักแสดงนำของเรื่องครับ เขาคือผู้เสียสละอย่างแท้จริง แม้เขาจะเป็นตัวเดินเรื่อง บทหนังพูดถึงตัวละครของเขา แต่เขาพร้อมจะทำตัวไม่เด่น กลืนไปกับฉาก ปล่อยให้นักแสดงร่วมฉากได้แสดงกันเต็มที่ บทสมทบแค่ไหนถ้าได้ออกจอร่วมกับเฮียเบนนี่เด่นกันทุกคน ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เรนเนอร์เอย, รีเบคคา ฮอลล์เอย, คริส คูเปอร์เอย, พีต พอเซิลธ์เวตเอย, แม้กระทั่งเบลค ไลฟ์ลี เด่นกว่าแกหมดเลยครับ ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
ย้ำอีกครั้งว่าอยากเห็นเฮียเบนเลิกเล่นหนัง(ของคนอื่น) แล้วมาเป็นผู้กำกับเต็มตัวสักที!! แล้วจะเล่นหนังของตัวเองบทไหนก็แล้วแต่เฮียเลยครับ!!
Director: Ben Affleck
novel “Prince of Thieves”: Chuck Hogan
Screenplay: Peter Craig, Ben Affleck, Aaron Stockard
Genre: Heist, Crime, Neo-noir, Drama, Action, Thriller
9/10
Form Corleone
หนังเก่าเล่าใหม่ 157: The Town (Ben Affleck, 2010) รีวิวโดย MDC
กระทู้สนทนา
ภาพยนตร์ภาพยนตร์ต่างประเทศภาพยนตร์แอ็คชั่น
หนังเก่าเล่าใหม่ 157: The Town (Ben Affleck, 2010)
The Town เล่าเรื่องของดัค (เบน แอฟเฟล็ก) หัวหน้าแก๊งปล้นธนาคารและแคลร์ (รีเบคคา ฮอลล์) ผู้จัดการธนาคารที่โดนจับเป็นตัวประกัน ดัดเข้าไปสนิทกับแคลร์เพื่อสืบข้อมูลว่าเธอได้บอกอะไรกับเจ้าหน้าที่ FBI แต่ความสนิททำให้ดัดหลงรักแคลร์ ซึ่งแคลร์ไม่รู้ว่าดัดคือหนึ่งในแก๊งปล้นธนาคาร แนวทางของหนังเรื่องนี้จึงอยู่ในหมวดหมู่หนังแนวดราม่าอาชญากรรม ความเข้มข้นของพล็อตเรื่องคือการรอคอยบทสรุปและชะตากรรมของตัวละครแต่ละตัวว่าจะได้รับผลจากการกระทำอย่างไร และเมื่อตัวละครดัคต้องการวางมือจากวงการปล้นธนคารเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่กับคนรัก แน่นอนว่า หนทางการกลับตัวกลับใจเป็นคนดีบนเส้นทางนี้นั้นไม่ง่าย หนังพาเราไปเข้าใจตัวละครดัคอย่างค่อยเป็นค่อยไปว่าทำไมเขาถึงเลือกเข้าสู่เส้นทางอาชญากร ด้วยการฉายภาพให้เราเห็นถึงปมในใจและผลกระทบจากปัญหาครอบครัว
อย่างไรก็ดี The Town มีความฉลาดด้วยลูกเล่นของการวางแผนปล้นที่ดูสมจริงและแยบยล รวมถึงแสดงภาพให้เรามีความเห็นอกเห็นใจตัวละครแก๊งปล้นที่มีเป้าหมายแค่เพียงต้องการเงิน ไม่ได้หวังเอาชีวิตใคร ฉากไล่ล่าทั้งการหนีและการตามจับชวนลุ้นระทึก โดยเฉพาะฉากการปล้นครั้งสุดท้ายของหนังที่ทิ้งทวนให้เราเห็นชะตากรรมของตัวละครอย่างน่าเศร้าใจ ยิ่งไปกว่านั้น ประเด็นสำคัญที่หนังแทรกไว้ผ่านเรื่องราวการปล้น คือสภาพแวดล้อมและสังคมที่บ่มเพาะให้คนชายขอบเลือกกลายเป็นผู้ร้าย ซึ่งการเลือกเป็นผู้ร้ายมันก็ต้องมีผลกระทบต่อชีวิตและนำพาความสูญเสียมากกว่าผลดี…
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ ยิ้ม
หนังโปรดของข้าพเจ้า
The Town (2010)
ในยุคที่เรากำลังหาหนังปล้น (heist films) ดี ๆ ดูได้ยากเหลือเกิน ดีในที่นี้หมายถึง แผนการปล้นน่าเชื่อถือ หนังไม่โม้จนเกินไป ถ้าเป็นหนังอาชญากรรมยุคใหม่ก็ต้องบอกว่ามันมีส่วนผสมของดราม่าที่ลงตัว (ช่วงยุค 70 ออกแนวเป็นทริลเลอร์ลุ้นระทึกไม่สนใจดราม่าตัวละครสักเท่าไร) การถือกำเนิดของ The Town จึงนับว่าเป็นการมาถูกที่ถูกเวลา
ย้อนไปถึงหนังปล้นดัง ๆ คลาสสิกตั้งแต่อดีต
Rififi – เป็นหนังอาชญากรรมปล้นร้านเพชรเรื่องแรก ๆ เลยมั้งครับที่ให้ความสำคัญกับตัวละคร นอกจากฉากปล้นสุดคลาสสิกแล้วยังมีการต่อยอดเล่นกับจิตใจมนุษย์ด้วยครับ
The Killing – หนังปล้นสนามม้าของ ‘สแตนลี่ย์ คูบริค’ ส่วนผสมของแผนการปล้นที่น่าเชื่อถือและการกำกับให้คนดูลุ้นชนิดหายใจไม่ทั่วท้องตลอดเวลา!
Dog Day Afternoon – เหตุการณ์จริงของการปล้นธนาคารธรรมดา ๆ ที่กลายเป็นหนังสะท้อนปัญหาอเมริกายุคนั้น
Inside Man – อีกหนึ่งหนังปล้นธนาคารล้ำ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องขายฉากแอ็คชั่น
และที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ Heat ที่อาจจะเรียกว่าเป็นต้นแบบของ The Town ก็ว่าได้
The Town เล่าเรื่องของ ‘ดั๊ก’ (Ben Affleck) หนึ่งในโจรปล้นธนาคารที่เกิดตกหลุมรัก ‘แคลร์’ ผู้จัดการธนาคารที่เขาเคยจับเป็นตัวประกัน และความรักครั้งนี้ก็ทำให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง อยากออกจากเมืองไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ไหนสักแห่ง โดยที่มีเขาต้องทิ้งชนักติดหลังทั้งหมด ตั้งแต่ ‘เจมส์’ (Jeremy Renner) เพื่อนสนิทตั้งแต่เด็กของเขา และยังเคยติดคุก 9 ปีจากการฆ่าคนที่จะมาทำร้ายเขาอีกด้วย, ‘คริส’ (Blake Lively) น้องสาวของเจมส์ อดีตคนรักของเขาที่มีลูกติดโดยไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อเด็ก, ไหนจะ ‘สตีเฟน’ (Chris Cooper) พ่อของเขาที่ติดคุกอยู่ในเมืองนี้อีก จนเมื่อเขาพร้อมหันหลังให้เมืองนี้ ‘เฟอร์กี้’ (Pete Postlethwaite) ก็มาพร้อมคำขู่ถึงแฟนสาวเขา เพื่อต้องการให้เขารับงานใหญ่ชิ้นสุดท้าย
เราจะเห็นว่าโครงเรื่องการปล้นธนาคารและต้องการวางมือมันเหมือนกับ Heat ครับ ดำเนินเรื่องด้วยการเปิดหนังด้วยฉากปล้นธนาคารเหมือนกัน จบหนังด้วยฉากปล้นครั้งใหญ่เหมือนกัน (ตัวเอกรอดไปได้เหมือนกันด้วยเนี่ยสิ) ไหนจะต้องดวลฝีปากทันเกมกับ FBI ที่แอบสะกดรอยตามเหมือนกัน (แต่ Heat เด็ดกว่าเยอะ) ที่เหมือนกันอีกก็คือต้องการวางมือหลังจากเจอผู้หญิงที่หลงรัก และยังไม่รวมฉากส่งซิกที่ช่างละม้ายคล้ายกันเสียเหลือเกิน ฮ่าๆๆ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า The Town แค่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Heat ซึ่งเป็นเรื่องปกติของโลกภาพยนตร์ที่ต้องหยิบยืมงานศิลปะเก่า ๆ มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพราะถ้ามองกันตามตรงแล้วก็ต้องบอกว่า Heat สร้างโครงเรื่องดราม่าของตัวเองได้น่าสนใจทีเดียว
เมื่อดูปมที่มาของ ‘ดั๊ก’ เด็กคนหนึ่งที่โตมาในย่านที่การปล้นธนาคารถูกมองว่าเป็น ‘ไอดอล’ เด็ก ๆ ใฝ่ฝันจะรวยทางลัดแบบนี้กัน แม่ก็หนีหายไป พ่อก็ติดคุก ช่วงวัยรุ่นหัวเลี้ยวหัวต่อมีโอกาสได้ดีจากการเป็นนักกีฬาฮ็อกกี้ก็โยนมันทิ้งไป ชีวิตเขาไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยว จึงไม่แปลกที่เขาจะถูกชักชวนให้เข้าสู่วงการอาชญากรรมได้โดยง่าย จนกระทั่งเขาได้เจอ ‘แคลร์’ ที่กลายมาเป็นที่พักใจของเขา เป็นคนที่เขาไว้ใจจะเล่าเรื่องครอบครัวให้ฟัง
ต้องขอชมวิธีการเล่าเรื่องปมตัวละคร ‘ดั๊ก’ ด้วยการค่อย ๆ ปอกเปลือกออกมาทีละขั้น ๆ จากการพูดคุยกับ ‘แคลร์’ ในแต่ละครั้ง นับเป็นชั้นเชิงของหนังที่ทำออกมาได้ดีทีเดียวครับ
พูดถึงความเป็นหนัง neo-noir สักหน่อย จริง ๆ ฟิล์มนัวร์นี่เป็นประเภทหนังที่จัดยากเหมือนกันแฮะ ถ้าว่ากันตามธีมเรื่องหมิ่นเหม่ศีลธรรม ทำให้คนดูต้องเอาใจช่วยคนทำผิดและมีผู้หญิงเป็นแรงจูงใจ ผมก็นับว่า The Town มันก็จัดเป็นนัวร์สมัยใหม่ได้อยู่ครับ
ความเป็นนีโอ-นัวร์ หรือนัวร์สมัยใหม่คือการที่หนังสร้างตัวละคร ‘ดั๊ก’ ในรูปแบบ ‘good bad guy’ เราเห็นภาพว่าเขาคือ ‘โจรปล้นธนาคาร’ แต่ขณะเดียวกันเราก็รู้สึกว่าเขาไม่ใช่คนเลวร้ายอะไรมากนัก เพราะเขาต้องการเพียงเงิน ไม่ได้ต้องการทำร้ายร่างกายใคร นิสัยส่วนตัวก็ดูเป็นคนน่าคบหา แล้วยิ่งเมื่อเขาเล่าเรื่องในอดีตให้ ‘แคลร์’ ฟัง ยิ่งทำให้รู้สึกว่าเขาเป็นตัวละครที่น่าเห็นใจ สภาพแวดล้อมบีบให้เขาไม่มีทางเลือกมากนัก การโตมาโดยไม่มีเสาหลักเป็นที่พึ่ง และการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตอาชีพกีฬาที่ผิดพลาดทำให้เขาเหลือทางเลือกไม่มาก ดังนั้นเมื่อเขาแสดงออกว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ คนดูอย่างเราจึงรู้สึกเอาใจช่วยตัวละครนี้ให้ทำสำเร็จ
นอกจากนี้หนังยังเล่นประเด็นที่เกี่ยวกับชนักติดหลัง ‘ดั๊ก’ ที่หมิ่นเหม่ต่อการตัดสินคน ๆ หนึ่งว่าเป็นคนดีหรือคนชั่ว เพราะการที่เขาจะเริ่มต้นชีวิตใหม่นั้น เขาต้องทิ้ง 3 อย่างพร้อม ๆ กันคือ
1. ‘เจมส์’ เขาไม่ได้จะตัดขาดอะไรจากเพื่อนรักที่ดีที่สุดของเขา เพียงแต่เมื่อเพื่อนของเขาอยากให้เขารับงานครั้งสุดท้ายที่มีความเสี่ยง เขายังห่วงเพื่อนเสมอ แต่หนังมาร้ายกาจในฉากสุดท้าย เมื่อเจมส์ที่ครั้งหนึ่งเคยลงมือฆ่าคนที่จะมาทำร้ายดั๊ก จนตัวเองต้องติดคุก 9 ปี กับฉากที่ ‘ดั๊ก’ ได้แต่นิ่งเฉยยืนมองเพื่อนถูกตำรวจไล่ตามจับกุม
2. ‘คริสและลูกไม่มีพ่อ’ หนังพูดถึงตัวละครนี้ค่อนข้างน้อย นอกจากให้คนดูรับรู้แค่ว่าเธอเป็นแฟนเก่าของดั๊ก (พร้อมกับเป็นแฟนคนอื่นอีกหลายคนในเวลาเดียวกัน) แต่เมื่อถึงจุดที่คริสต้องการจะไปจากเมืองด้วย คำตอบของเขากลับเป็น ‘ปฏิเสธ’
3. ‘สตีเฟน’ พ่อแท้ ๆ ที่อยู่ในคุก โอเคว่าตัวละครนี้อาจไม่ใช่ชนักติดหลังที่ร้ายแรงสักเท่าไร แต่การจะไปต่างเมืองย่อมทำให้เขาไม่มีโอกาสเจอพ่อได้ง่าย ๆ เหมือนเดิมแล้ว
และนี่คือ ‘good bad guy’ ที่เรากำลังลุ้นให้เขาไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้สำเร็จ
บทหนังในสายตาผมเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ ‘ดี’ และมีธีมฟิล์มนัวร์อาชญากรรมดราม่าที่เรียกว่า ‘แข็งแรงมาก’ อันเกิดจากการที่หนังโฟกัสไปที่ตัวละครเอกเป็นหลัก ซึ่งผลข้างเคียงที่ตามมาก็คือตัวละครรองบางตัวไม่ได้รับการสนใจอย่างที่ควร หนังยังมีจุดที่ใช้ความบังเอิญเข้าช่วย เช่นอุบัติเหตุของคริสก่อนฉากปล้นครั้งสุดท้ายที่ทำให้ตำรวจรู้ว่าพวกของดั๊กกำลังจะไปปล้นสนามเบสบอล รวมถึงฉากช่วงท้ายที่ดูจะง่ายเกินไปสักหน่อย
หนังมาพร้อมฉากปล้น 3 ฉากเด็ดที่น่าจดจำ
• เริ่มจากฉากปล้นธนาคารอย่างรวดเร็วตั้งแต่เปิดตัวหนัง ซึ่งทำให้เห็นว่าวิธีการของโจรกลุ่มนี้คือมืออาชีพจริง ๆ
• ตามด้วยฉากปล้นรถขนเงินอย่างรวดเร็วอีกเช่นเคย + car chase เล็ก ๆ เพิ่มความน่าตื่นเต้น และปิดท้ายด้วยฉากตลกร้ายที่ตำรวจเบือนหน้าหนีแก๊งโจรที่กำลังขนเงินออกจากรถ!
• ไคลแม็กซ์ของหนังอยู่ที่ฉากปล้นสนามเบสบอลเนี่ยแหละครับ แผนการปล้นที่แอบคิดถึง The Killing ปี 1956 (สนามม้า vs. สนามเบสบอล) ผสมฉากดวลปืนที่ดูแล้วคิดถึง Heat (แต่ Heat ทำออกมาเทพกว่ากันเยอะ) คิดถึงในแง่ที่ว่ามันเป็นฉากดวลปืนที่สมจริง เสียงปืนประกอบสมจริง ยิ่งพวกหูฟังลำโพง 5.1 นี่อิ่มเลยครับ
หลังจาก ‘เบน แอฟเฟล็ก’ พิสูจน์ความสามารถในการทำงานเบื้องหลังของตัวเองใน Gone Baby Gone ผลงานกำกับหนังเรื่องแรกว่าด้วยธีมหนังฟิล์มนัวร์สีเทาที่พร้อมขยี้จิตใจคนดู เขาใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อส่งตรงพิสูจน์กับคนทั้งโลกว่าความสำเร็จในแง่คำวิจารณ์จากการกำกับหนังเรื่องแรกไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะฝีมือของเขา!! และรอบนี้เขาเปลี่ยนจากหนังฟิล์มนัวร์สืบสวนมาทำหนังแอ็คชั่นอาชญากรรมซะด้วย!
เนื่องด้วยรีวิวนี้เขียนหลังจาก Argo ได้ออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปแล้ว เลยอยากขอพูดถึงฝีมือกำกับนักแสดงของเขาสักหน่อยว่า เขากำกับหนังแค่ 3 เรื่อง และไม่ใช่หนังที่ไปเชิดฉายบนเวทีออสการ์ แต่นักแสดงของเขาจากหนังทั้ง 3 เรื่องได้เข้าชิงออสการ์การแสดงถึง 3 คน! โอเคว่าเครดิตใหญ่ย่อมอยู่กับนักแสดง แต่การที่เขาดึงศักยภาพออกมาได้ก็ต้องให้เครดิตเขาด้วยเช่นกันครับ
• การเข้าชิงออสการ์ครั้งแรกและครั้งเดียวของ Amy Ryan จากบทแม่ที่สภาพชีวิตย่ำแย่ออกตามหาลูกสาวใน Gone Baby Gone
• Jeremy Renner เข้าชิงออสการ์ครั้งที่สอง จากบทอันธพาลคาดเดาได้ยากใน The Town
• Alan Arkin จากบทสมทบเป็นโปรดิวเซอร์ในแผนการ Argo
ไหนจะการโชว์ลูกไม้รายละเอียดเล็ก ๆ สอดแทรกภาพสัญลักษณ์ในหนังของเขา เช่นฉากตำรวจเบือนหน้าหนี, ฉากที่แก๊งโจรเพิ่งจะคุมหน้าด้วยหน้ากากแม่ชี แล้วมองออกไปนอกรถมีเด็กน้อยคนหนึ่งมองมายังแก๊งปล้นธนาคาร ซึ่งไปสอดรับกับการเล่าเรื่องวัยเด็กของ ‘ดั๊ก’, การตัดต่อสภาพจิตใจของ ‘แคลร์’ หลังจากโดนปล่อยตัวให้เดินลงน้ำก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งลูกไม้เล็ก ๆ ที่เขาทำออกมาได้ดี และไม่ต้องพูดถึงการคุมสเกลฉากปล้นแต่ละฉากที่ยอดเยี่ยมมาก!
พูดถึงการแสดงกันบ้าง ‘เจเรมี่ เรนเนอร์’ คู่ควรกับรางวัลรองชนะเลิศออสการ์การแสดงสมทบฝ่ายชายปีนั้นมาก ๆ ครับ (รางวัลชนะเลิศปีนั้นต้องยอมให้เบลจาก The Fighter จริง ๆ) เฮียเรนเนอร์แกแสดงได้กุ๊ยมาก สถุล ถ่อย ทราม คาดเดาได้ยาก แต่ดูเป็นมิตรรักพวกพ้อง แสดงดีจริง ๆ ครับ เป็นอีกหนึ่งนักแสดงที่ผมชอบด้วย เลือกรับงานช่วงหลังมานี้น่าสนใจดีครับ
ในขณะที่คนที่คู่ควรแก่การยกย่องมากที่สุดผมขอมอบให้ ‘เบน แอฟเฟล็ก’ นักแสดงนำของเรื่องครับ เขาคือผู้เสียสละอย่างแท้จริง แม้เขาจะเป็นตัวเดินเรื่อง บทหนังพูดถึงตัวละครของเขา แต่เขาพร้อมจะทำตัวไม่เด่น กลืนไปกับฉาก ปล่อยให้นักแสดงร่วมฉากได้แสดงกันเต็มที่ บทสมทบแค่ไหนถ้าได้ออกจอร่วมกับเฮียเบนนี่เด่นกันทุกคน ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เรนเนอร์เอย, รีเบคคา ฮอลล์เอย, คริส คูเปอร์เอย, พีต พอเซิลธ์เวตเอย, แม้กระทั่งเบลค ไลฟ์ลี เด่นกว่าแกหมดเลยครับ ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
ย้ำอีกครั้งว่าอยากเห็นเฮียเบนเลิกเล่นหนัง(ของคนอื่น) แล้วมาเป็นผู้กำกับเต็มตัวสักที!! แล้วจะเล่นหนังของตัวเองบทไหนก็แล้วแต่เฮียเลยครับ!!
Director: Ben Affleck
novel “Prince of Thieves”: Chuck Hogan
Screenplay: Peter Craig, Ben Affleck, Aaron Stockard
Genre: Heist, Crime, Neo-noir, Drama, Action, Thriller
9/10
ดูหนัง ออนไลน์ ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
The Equalizer 2 (2018) มัจจุราชไร้เงา 2
The Equalizer (2014) มัจจุราชไร้เงา
Man On Fire (2004) คนจริงเผาแค้น
8.6